“ทุนนั้นเป็นมายา ปากท้องเป็นของจริง”

“ทุนนั้นเป็นมายา ปากท้องเป็นของจริง”

หากเปรียบเทียบ ถนนกับ 5G เราสามารถแยกองค์ประกอบได้ดังนี้

  1. ถนน คือ คลื่นความถี่ 5G อันมีเส้นทางถนนนี้ไปทั่วประเทศ เป็นถนนที่กว้าง มีช่องทางทำความเร็วที่สูงขึ้นกว่าเดิม
  2. อิฐหินปูนทรายที่ก่อสร้างเป็นเส้นทางถนน คือ ระบบ Network อันเป็นโครงสร้างพื้นฐาน
  3. รถที่วิ่งบนถนน คือ อุปกรณ์ Devices/ Sensor/ IoT
  4. พฤติกรรมการขับของแต่ละคัน และในแต่ละช่องทาง คือ Data

จากข้อ 1 ถึง 4 รวมเป็น Ecosystem ใหม่ที่มาพร้อมกับระบบ 5G แบบแกะออกจากกันไม่ได้ **

และจาก 1–4 มีข้อไหนอยู่ในประเทศไทย และข้อไหนบ้างที่ไม่อยู่ในประเทศไทย ? ผมถามทุกคนที่เข้าฟังงานเสวนาโดยไม่เฉลย

5G ในความคิดผมคือ จุดเริ่มต้นแห่งการเปลี่ยนแปลง. ทั้งธุรกิจ และการใช้ชีวิตของผู้คน

ทำให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบขึ้น จะเริ่มเกิดขึ้นเมื่อใช้เทคโนโลยี. 5G. และ Next G เป็นต้นไป.

ที่กล่าวเช่นนี้ สืบเนื่องมาจากมนุษย์ได้มีบทเรียนจากคำว่าทุนตั้งแต่ยุคปฎิวัติอุตสาหกรรม 1–4 เป็นต้นมาที่การทำงานเป็น Routine ว่าการผลิตต้องโต ขายได้ในปริมาณมาก ต้องได้กำไรต่อเนื่อง ในทุกปีกำไรต้องก้าวกระโดด บริษัทที่ทำ นั้นต้องเข้าตลาดหลักทรัพย์ SET ตลาดทุน มาลงเงินในบริษัท ต้องมี VC มาลงทุนโดยใช้เงินในอนาคตมาลง

ซึ่งนั้นเป็นเหตุการณ์เดิมๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก

อันเป็นหนทางสู่กับดักแห่งทุน ซึ่งบริษัทที่ติดกับดักนี้ จะทำทุกวิถีทางให้ตัวเลขทางบัญชีออกมาดีเสมอเมื่อสำเร็จจะรีบ Exit ออกโดยการขายและควบรวมกิจการทั้งสิ้น

ในยุคถัดไป เมื่อคนมีภูมิฯมากขึ้น Routine นั้นจะเปลี่ยนไป ในความคิดผมนั้น เทคโนโลยี 5G (ขึ้นไป) จะเปลี่ยนกระบวนทัศน์ความคิดเดิมรวมถึง Business Ecosystem ใหม่จากเป็นการรวมศูนย์ (centralization ) ในอดีต จะถูกเปลี่ยนเป็นแบบกระจาย (distribution) ไปสู่ชุมชน สู่ท้องถิ่น อันเป็นที่เกิดและเป็นบ้านเกิดของเราเอง มีเวลาเป็นมนุษย์และแสวงหาความจริงของชีวิตมากขึ้น

ซึ่งนำไปสู่ Micro providers โดยทั้งหมดนี้ผมขอใช้ศัพท์ว่า “Local citizen transformation” โดยมี People Centric อันก่อให้เกิด “สังคมพึ่งพาตัวเองได้” ในที่สุด

เป็นสังคมที่ ทุกคนถวิลหาโดยมีเทคโนโลยี Cloud Distribution มี AI และ Autonomus things ทำงานอยู่ฉากหลัง นำพาความถูกต้อง และความเป็นธรรม ก่อให้เกิดความพอเพียง ของเศรษฐกิจ (ตนเอง)

ชีวิตและความเป็นอยู่ในชุมชนที่เข้มแข็งโดยใช้เทคโนโลยี 5G และต่อจากนี้เป็นต้นไป

จากจุดเล็กๆ นี้ทำให้ชีวิตมีความสุขโดยไม่ต้องพึ่งพาทุนแห่งมายาต่อไป ….(10 ปีนับจากนี้เป็นอย่างน้อย)

“มีความเป็นได้แค่ไหน ? หากอเมริกา ระงับสิทธิการใช้งาน Google ในประเทศไทยสัก 1 เดือน และอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง”

ส่วนหนึ่งที่ผมได้ฝากประเด็นไว้ ในงานเสวนา เรื่อง

ยุค 5G โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลใหม่ จะเป็นทางรุ่ง หรือทางร่วงธุรกิจดิจิทัลประเทศไทย จัดขึ้นในงาน Thailand Digital Bigbang 2019 เมื่อวันจันทร์ ที่ผ่านมา ในงานไม่ได้บอกละเอียด แต่แค่ให้รับทราบว่า อำนาจต่อรองเรามีมากแค่ไหน หากเราเป็นผู้ใช้อย่างเดียว

ผลกระทบ อย่างน้อยดังนี้

  • ขับรถหลงทางได้
  • – Application บางอย่างที่มีการใช้เชื่อม API กับ google หยุดการใช้งาน ส่งผลกระทบระดับธุรกิจ
  • – IoT devices ที่เขียนเชื่อม Cloud Google ทำงานได้ฝั่งเดียว ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ และโครงสร้างพื้นฐาน
  • – ค้นหาข้อมูลแบบเคยชินไม่ได้ แบบที่คิดว่า “นึกอะไรไม่ออกถามพี่ Goo” ไม่ได้เสียแล้ว
  • – ไฟล์เอกสาร google drive เอกสารทั้งสำคัญและไม่สำคัญ ของภาคเอกชน และ รัฐบาล เข้าไปใช้ไม่ได้
  • – อื่นๆ โพลสำรวจ ภาพ เสียง เอกสาร แปลภาษา หยุดการใช้งานชั่วคราว
  • เพิ่มเติม** E-mail ที่ใช้เกือบทั้งหมด ส่วนบุคคล บริษัท … และ app ที่ใช้สมัครผ่าน gmail ไปหมดใช้งานไม่ได้

รวมๆ แล้ว โครงสร้างพื้นฐานในประเทศ กระทบได้อย่างแน่นอนเมื่อถึงเวลานั้นมาถึง

ในงานเสวนาครั้งนี้ ผมได้บอกเสมอว่า 5G ไม่ใช่คลื่นอย่างเดียว “มาพร้อมกันแบบแกะกันไม่ออก” ระหว่าง (1) คลื่น, Network, Devices IoT Sensor, (4) Data

ทั้ง 4 ส่วนมาพร้อมกัน ใน 5G

และ 4 ส่วนนี้ อันไหนอยู่ในประเทศไทยบ้าง อันไหนไม่ได้อยู่ในประเทศไทยบ้าง ลองไปคิดดู

เป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งที่ผมได้กล่าวในงาน

เสวนาเรื่อง “ยุค 5G โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลใหม่ จะเป็นทางรุ่ง หรือทางร่วงธุรกิจดิจิทัลประเทศไทย”

จัดโดยสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ TCT ที่ได้รับเกียรติเชิญทางสภาดิจิทัลฯ

ต้องขอขอบคุณทางสภาดิจิทัลฯ ที่ให้โอกาสผมเป็นตัวแทนร่วมเสวนา และได้แสดงความคิดเห็นนี้ ซึ่งอาจจะเป็นมุมที่เห็นต่าง

ในงานนี้มีรองปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ ท่านวรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา และ ผอ.อาวุโส บจก.หลักทรัพย์กสิกรไทย. ร่วมเสวนาโดยมี อ.สืบศักดิ์ เป็นพิธีกร. ช่วงบ่ายในวันที่ 28 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา

Nontawatt Saraman

SRAN

29/10/62


Posted

in

by

Tags: