ออกแบบ SRAN ในปีหน้า 2007

วันหยุดติดต่อกัน 3 วัน คือ เสาร์ อาทิตย์ และ จันทร์ วันหยุดชดเชยรัฐธรรมนูญ ใน 3 วันที่ผ่านมานี้ สมองผมคิดถึงการออกแบบ SRAN ใน Version ใหม่ …
ในปีที่ผ่านมา เราได้เปลี่ยนแปลง SRAN Appliance โดยแบ่งเป็น 2 อุปกรณ์ คือ ที่เป็นแบบ
1. Security Gateway หรือในศัพท์แฟชั่นเรียกว่า UTM (Unified Threat Management) โดยต่อยอดและ comply ใหม่จาก 2 OS ได้แก่ BSD และ Linux โดยใช้ชื่อเรียก Product นี้ว่า “SRAN Wall:
2. Security Center ที่เป็นพระเอกของเราประจำปี สองปีที่ผ่านมา เพราะเป็นลูกผสม ระหว่างระบบ IDS/IPS บวกความสามารถ VA (Vulnerability Assessment) และรวม VM (Vulnerability Management) ในตัว และใช้ชื่อเรียก Product นี้ว่า “SRAN Security Center”

ในปี 2007 ที่กำลังจะถึงไม่กี่วัน ผมคิดว่า จะรวม .. หรือ ทำการเพิ่มความสามารถในตัว SRAN Security Center มี 2 ทางเลือก นั่นคือรวม UTM + IPS + VA +VM หรือ สร้างใหม่บนพื้นฐานโครงสร้างเดิมของ SRAN Security Center
หนักใจเหมือนกัน .. เพราะการรวมหลายฟังชั่นการทำงานบนเครื่องเดียวกัน คงไม่ใช่สิ่งที่ดีแน่ เทียบจาก UTM หลายๆ ครั้งที่ใช้งานพร้อมกันมักจะทำได้ไม่ดีนัก

ผมจึงหันกลับมาคิด ถึงสิ่งที่ควรจะได้รับจากผู้ใช้งาน และพยายามสนองตอบความต้องการผู้ใช้ ถ้าเป็นศัพท์วัยรุ่นก็เรียกว่า “ให้โดนใจที่สุด” ถ้าเป็นอย่างงั้นแล้ว Products ในชื่อแบนด์ SRAN version ใหม่นี้ ต้องมีความพิเศษกว่า และต้องลบความสับสนการใช้เรียกชื่อ Product ผมจึงคิดว่าเราควรจะเปลี่ยนชื่อใหม่ และต้องหาคำว่าโดนใจ แบบไหนที่ทำให้ฟังชั่นการทำงาน SRAN ทำได้แบบ “โดนใจผู้ใช้งานมากที่สุด”
ผมสรุปได้ดังนี้
1. ต้องใช้งานง่าย และไม่ส่งผลกระทบกับระบบอื่น
2. ต้องมีการมองเห็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้อย่างถูกต้อง
3. สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการค้นหา สืบหา และวิเคราะห์ปัญหา ของระบบเครือข่ายได้อย่างถูกต้อง
4. สามารถจัดเก็บ inventory Network/PC ได้แบบมี Data Base ทั้งที่ทำงานแบบ Passive / และติดตั้ง agent
5. สามารถที่ประมวลผล Log ที่เกิดขึ้นในอุปกรณ์ เพื่อทำการเปรียบเทียบให้เข้ากลุ่มของ Compliance หรือ มาตรฐานด้าน IT Security เช่น ISO17799 เป็นต้น
6. ทำการบริหารจัดการ จากศูนย์กลางได้ ทั้งที่ SOC แบบ in site และ SOC แบบ out site
ึ7. สามารถใช้งานกับ SRAN Anti virus ได้ โดยไม่ต้องเสียค่า License Anti virus Software อื่นๆ อาจทำได้มากกว่าที่คิด เช่นนำ NAC มาใช้เพื่อกักเครื่องที่ติดไวรัส และแยกวงให้อยู่อีก VLAN ซึ่งตอนนี้ก็มีแนวทางในการปฏิบัติแล้วเช่นกัน
โดยในช่วงเรียก ผมขอใช้ชื่อ SRAN รุ่นนี้ว่า Fortress ที่แปลว่า ป้อมปราการ , สถานที่ปลอดภัย หรือ ที่มั่น
เรียกชื่อเต็มว่า “SRAN Fortress”
แล้ว SRAN Wall และ SRAN Security Center ล่ะ ?
คำตอบก็คือ SRAN Wall ในปีหน้าจะเป็น CD install ส่วน Hardware สามารถจัดหาได้ตามต้องการ
ส่วน SRAN Security Center จะทำงานบน Data Center หรือ SOC แทน เรียกง่ายๆ ว่าเป็นระบบ Backoffice ด้านหลังภาพ ที่จะทำงานกับ SRAN Fortress
ส่วนรุ่นของ applinace อาจมีการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ เฉพาะที่จะเป็น SRAN Fortress นะครับ

ตอนนี้อยู่ในระหว่างการออกแบบ ครับ ระบบหลังบ้าน หรือที่เรียกว่า Backoffice ที่ใช้บริหารจัดการจากศูนย์กลาง อาจตั้งอยู่ที่ SOC ที่ ISP หรือ ใน site ลูกค้าก็ได้ ระบบนี้ผมคิดว่าจะประยุกต์แนวคิด Web 2.0 ที่ทำให้ทุกคนที่ใช้งานมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังภัยบนเครือข่ายของตนเอง และเป็นฐานข้อมูลการสร้างองค์ความรู้ด้าน IT security ในองค์กร หรือผู้รับบริการนั่น

ตอนนี้คงต้องหาชื่อที่เหมาะ และแนวทางที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติมาที่สุด ส่วนการออกแบบอุปกรณ์นี้ จะอยู่ตำแหน่งในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network) ผมจะแอบมาเผยแพร่ให้ฟังครั้งหน้า ตอนนี้อยู่ในเศษกระดาษอยู่ อดใจรออีกนิดครับ

นนทวรรธนะ สาระมาน
Nontawattana Saraman