ปกติในการเขียน blog ผมได้ใช้ระบบปฏิบัติการ windows ในการสร้างบทความมาโดยตลอด อาจมีการสลับการใช้งานระบบปฏิบัติไปบ้างในบางครั้ง โดยปกติเครื่อง notebook ส่วนตัวมี สองระบบปฏิบัติการ คือ boot linux สลับ Windows ตามอารมณ์ แต่มาตอนนี้ ผมประกาศเลิกใช้ ระบบปฏิบัติการ Windows เครื่องนี้ปัจจุบันไม่มีระบบปฏิบัติที่เป็น Windows อยู่เลย
ก่อนหน้านี้ผมได้ประกาศเลิกใช้โปรแกรมแอนตี้ไวรัส ทุกค่ายไปเรียบร้อยหมดแล้ว ใช้แต่ของที่พัฒนาเองคือ SRAN Anti virus (พัฒนาต่อยอดจากซอฟต์แวร์ Open Source Clamav) เหตุผลที่เลิกใช้ ซอฟแวร์เหล่านี้ ทั้งที่เลิกยากพอๆกับติดเหล้า ติดบุหรี่เชียวล่ะครับ
เหตุที่เลิกใช้ซอฟต์แวร์ และระบบปฏิบัติการ Windows มี 2 เหตุผลหลัก
เหตุผลข้อแรก หลังๆ ผมสังเกตเห็นพฤติกรรมความไม่ปกติ ที่เกิดขึ้นกับข้อมูลส่วนตัว เมื่อเราใช้งานซอฟแวร์ที่มีการระบุ License เมื่อมีการอัพเดทข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ท เพียงแค่เกิดความสงสัยส่วนตัว ไม่ได้แอนตี้บริษัท Microsoft ไม่ได้แอนตี้บริษัทที่ทำซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสแต่อย่างใด
เหตุผลข้อที่สอง ผมไม่อยากยึดติดกับข้อผูกมัดทางธุรกิจ และเพื่อไม่เป็นการแอบใช้ซอฟต์แวร์เถื่่อน ที่ถือได้ว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธ์ทางปัญญาผู้ผลิตเทคโนโลยีนั้น
ปัจจุบันผมได้ลงระบบปฏิบัติการ Ubantu เป็นสายพันธ์ที่พัฒนาต่อจาก Debian Linux ่สามารถควบคุมซอฟต์แวร์ทั้งหมดที่ใช้งานได้ พร้อม Source Code แก้ไขเองได้ ไม่ต้องระวังเรื่องการละเมิดลิขสิทธ์ซอฟต์แวร์ และเพื่อทำตัวเอง เป็นตัวอย่่าง ในการใช้งานอินเตอร์เน็ท แบบมีวินัย มีความตระหนัก (Awareness) และระมัดระวังแบบมีสติ โดยควบคุม พฤติกรรมการใช้งานก็เหมือนมีเกาะคุ้มกันภัยในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา เวลาใช้งานอินเตอร์เน็ทแล้ว
ขณะนี้เราตกเป็นทาสทางเทคโนโลยีไปแบบไม่รู้ตัวเสียแล้ว ปัจจุบัน ประเทศไทยสูญเสียเงินค่าลิขสิทธ์ซอฟต์แวร์จำนวนมาก วิธีการหนึ่งที่จะลดค่าใช้จ่ายเหล่านั้นได้คือต้องสร้างคนให้หันมาใช้ระบบ ปฏิบัติการที่เป็น Open source และซอฟต์แวร์ Open Source กันมากขึ้น พร้อมทั้ง สร้างองค์ความรู้ในการต่อยอดจาก Open Source จากโค้ดที่ให้มานำมาประยุกต์ใช้ต่อยอดต่อไป ทำให้เรามีภูมิต้านทานด้านเทคโนโลยีเองได้โดยปริยาย
Nontawattana Saraman