Loopback


บทความ My Ontology ปล่อยให้ งง มาเกือบหนึ่งเดือนแล้ว วันนี้คงเฉลยให้ฟัง ว่าที่เขียนเพื่อต้องการสื่ออะไรกัน ….

Loopback คือช่องทางการสื่อสารที่มีจุดจบเพียงจุดเดียว ข้อความใดก็ตามที่ส่งผ่านทางช่องดังกล่าว
ช่องนั้นก็จะได้รับทันที Internet Protocol (IP) กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับ lookback network ภายใต้ IPv4 เครือข่ายนี้ควรเป็น
network 0 (เครือข่ายนี้) และ local loopback address ของโฮสต์ควรเป็น 0.0.0.0 (โฮสต์นี้ที่อยู่ในเครือข่ายนี้)
แต่เนื่องจากมีการใช้ address นี้ไปในทางที่ผิด (โดยเฉพาะการใช้ host address 0 เพื่อเป็น broadcast
address) จึงมีการเปลี่ยนมาใช้ 127.0.0.1 เป็น loopback address แทน
traffic ที่โปรแกรมคอมพิวเตอร์ส่งไปยัง loopback network จะส่งไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวกัน IP address
ที่มักใช้ใน loopback network คือ 127.0.0.1 สำหรับ IPv4 และ ::1 สำหรับ IPv6 ชื่อโดเมนสำหรับ address
นี้คือ localhost, loopback interface เป็น IP address ที่เรียกว่า circuitless หรือ virtual IP address
เนื่องจาก IP address นี้ไม่เชื่อมโยงกับ interface (หรือวงจร) ใด ๆ ในโฮสต์หรือเราเตอร์
มีการใช้ loopback interface ในหลาย ๆ ทางด้วยกัน เช่น ซอฟท์แวร์ที่เป็น network client ในคอมพิวเตอร์
ใช้เพื่อสื่อสารกับซอฟท์แวร์ server ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวกัน ในคอมพิวเตอร์ที่ทำงานเป็น web server
เมื่อเปิดที่ URL http://127.0.0.1/ ก็สามารถเข้าถึงเวบไซต์ในคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นได้ โดยไม่จำเป็นต้อง
เชื่อมโยงเข้ากับเครือข่ายใด ๆ จึงมีประโยชน์ในการทดสอบ services โดยไม่จำเป็นต้องให้เข้าถึงได้จาก
ระบบอื่นภายในเครือข่าย นอกจากนี้การ ping loopback interface ยังเป็นการทดสอบขั้นต้นว่า IP stack ได้ทำงานอย่างถูกต้องด้วย


จากรูปหมายเลข 1 และ 3 คือการ Loopback IP กับซอฟต์แวร์ที่ใช้ในเครื่องตัวเอง เพื่อรอการใช้งานจริง (LISTENING) หมายเลข 2 เครื่อง Loopback IP ซอฟต์แวร์ที่ทำงานเสร็จสิ้นแล้ว (ESTABLISHED)

เช่นกันบทความ My Ontology มีอาการ Loopback นั่นหมายความว่า จุดแรก และ จุดสุดท้าย เป็นสิ่งเดียวกัน ส่วนช่วงกลางคือภาพลวงตา บนความฝันที่เกิดขึ้น , My Ontology ผม มันคือความว่างเปล่า (อนัตตา) นั้นเอง

จากภาพข้างบนแสดงถึง ประโยคแรก ส่วนเริ่มต้นเนื้อเรื่อง และ ประโยคสุดท้าย กล่าวเหมือนกันว่า “Ontology ผมคงเปลี่ยนไป ..”

เป็นความตั้งใจที่ผมต้องการที่จะเขียนบทความสักเรื่อง ที่มีเนื้อหา วนกลับมาที่เดิม ส่วนใครจะตั้งใจให้มีสาระ หรือไม่มีสาระ หรือ อ่านแล้วไม่เข้าใจ และพยายามจะเข้าใจ นั่นไม่ใช่ประเด็นที่ต้องการ สุดแล้วแต่จิตนาการของผู้อ่าน หากมองอย่างไม่ซับซ้อน มันก็เพียงแค่การเขียนบทความให้เกิดอาการ Loopback นั่นเอง : )

ผลกระทบเมื่อเกิด Loopback บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network) โดยเฉพาะอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เช่น Switch , Router มักจะทำให้เครื่อง Clinet ที่อยู่ภายใต้การควบคุมอุปกรณ์นั้น ใช้งานไม่ได้
ผลกระทบกับผู้อ่านบทความ เมื่อเกิด Loopback หากตั้งความหวังไว้ จะอ่านไม่รู้เรื่อง และหากพยายามจะที่จะให้รู้เรื่อง ก็จะได้คำตอบเหมือนเดิมที่เคยอ่านครั้งแรก

** สำหรับผมแล้ว Loopback พบได้บ่อย และมันเป็นเรื่องปกติ อย่างนั้นเอง (ตถตา)
Ontology เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตจริงตามธรรมชาติ เช่นเดียวกับ ขันธ์ทั้ง 5 ทางพุธศาสนา เป็นสิ่งที่มีอยู่จริงตามธรรมชาติ ที่คนทั่วไปมักยึดเอาขันธ์มาเป็นตัวตน จึงเกิดการยึดมั่นถือมั่น เอามาเป็นตัวตนของตน จนก็เกิดทุกข์ในที่สุด
ความจริงสูงสุดคือ “อย่างนั้นเอง” ไม่ยินดีหลงรัก ไม่ยินร้ายหลงเกลียด มีความรู้สึกที่จะรัก และไม่เสียใจกับความรัก “Love means never having to say you’re sorry” เพราะมันก็อย่างนั้นเอง ธรรมชาติทุกอย่างมันก็อย่างนั้นเอง อย่านำมาเป็นตัวตนของตน

นนทวรรธนะ สาระมาน
Nontawattana Saraman
20/05/2550