มีหลายๆ วิธีที่ทำให้การทำงานด้านประเมินความเสี่ยงระบบเครือข่ายประสบความสำเร็จได้
และมีอีกวิธีที่ทางทีมงาน SRAN ได้คิดค้นวิธีการทำประเมินความเสี่ยงเครือข่าย ที่มีแบบแผนและการดำเนินการที่เป็นระบบ โดยมีการประยุกต์โครงร่างงาน (Framework) ดังนี้
1. ประยุกต์การใช้แบบทดสอบพื้นฐาน จาก Self-Assessment ISO17799
2. ประยุกต์การใช้แบบตรวจสอบ ตาม (BSI : Federal Office for Information Security)
3. ประยุกต์การใช้ Tools ในการทำ Penetration Test โดยใช้ SRAN Muay Thai ที่มี Tools ตาม OSSTMM (Open Source Security Testing Methodology Manual)
4. ประยุกต์ผลลัพธ์ที่ตามแบบ NIST SP800 42
5. นำ SRAN Security Center มาใช้ในการทำประเมินความเสี่ยง จากสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นในระบบเครือข่ายจากการตรวจจับข้อมูลที่รับและส่งเข้าออกใน ทั้งเครือข่ายภายใน และ ภายนอก (Threat Traffic Analysis)
จากการประยุกต์ดังกล่าว เราสามารถสร้างเป็นโครงสร้างการทำงานด้านประเมินความเสี่ยงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่เรียกได้ว่าครบสมบูรณ์แบบได้
รวมถึงรายงานผลที่เกิดขึ้น จะเน้นอยู่ 2 เรื่องคือ ภาษาที่ใช้ในแต่ละขั้นตอนการปฏิบัติงานจะเป็นภาษาไทย ทั้งหมด และ การวิเคราะห์ความเสี่ยง จะทำเชิงลึก เพื่อให้ทราบถึงภัยคุกคามในช่วงเวลาปัจจุบันได้มากที่สุด
โดยสร้างขั้นตอนกระบวนการดำเนินการดังนี้
แบ่งทีมงานการทำงาน มี 2 ทีมใหญ่ ทำงานประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้
เราเรียกการประยุกต์แผนทำประเมินความเสี่ยงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ครั้งนี้ว่า “Neo Vulnerability Assessment Framework” เรียกเป็นภาษาไทย ว่า แผนการดำเนินการประเมินความเสี่ยงระบบเครือข่ายเชิงบรูณาการณ์ ซึ่งผมก็มั่นใจว่า เราเป็นเจ้าแรกที่รวมวิธีการทำงานแบบนี้ขึ้น เป็นวิธีแรกในโลก Cyber ก็เป็นได้ และเป็นสูตรสำเร็จ ในการดำเนินงานด้านนี้ ที่ตัวผมเองคิดได้ ยอมรับว่าเป็นสูตรการทำงานที่ดีกว่า สมัยก่อนๆ ที่เคยปฏิบัติมาในหลายงานในอดีต
Nontawattana Saraman