ปัจจุบันอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านจาก Knowledge Based Society ก้าวเข้าสู่ Post Knowledge Based Society โดยมีการเปลี่ยนแปลงหลักๆ คือ Knowledge Based Post Knowledge Based
· ทำธุรกิจเพื่อความอยู่รอด ทำเพื่อสร้างความยั่งยืน
· ทุนนิยมที่เน้นตลาด ทุนนิยมสังคม (เช่น open source)
· หาความต้องการของลูกค้าและตอบสนอง Care & Share แบ่งปันข้อมูลกัน เช่น การสร้าง web community ให้ความรู้
· Close to Close Open to Open เปิดกว้างในการ “ให้” และ “รับ”
SRAN ก็เข้าข่ายนี้ คือ หา open source มาพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ของตนเอง แล้วปล่อย source บางส่วนออกไปให้ผู้อื่นได้ใช้ประโยชน์ แนวโน้มคือการเปิดกว้างรับเทคโนโลยีทุกค่าย ไม่ใช่เจาะจงเพียงค่ายเดียว พยายามพัฒนาให้สามารถใช้ได้กับทุกค่าย และ “แบ่งปัน” ข้อมูลสู่สาธารณะ เข้า concept “ยิ่งเปิดกว้าง ยิ่งได้รับ” แต่ต้องสมดุลกับแผนธุรกิจด้วย
สรุปคือ เราต้องเป็นทั้งผู้ผลิต และผู้บริโภค ไปพร้อมๆ กัน
นอกจากนี้เรายังมี Knowledge Community ซึ่งเป็นช่องทางที่ดีในการแบ่งปันข้อมูลข่าวสารอีกด้วย
– กระแสโลกาภิวัตน์ และ Social Networking เข้ามามีบทบาทสำคัญในการทำธุรกิจ เราต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการ ให้น่าสนใจ และแข่งขันได้, สร้างแผนธุรกิจที่น่าสนใจ แล้วจะมีคนมาร่วมลงทุนด้วยเอง ก่อให้เกิดผลกำไรตามมา อธิบายเป็น flow ได้ดังนี้
Innovation Model à Business Model à Investment Model à Profit Model (แล้วย้อนกลับไปสู่ Innovation Model ใหม่ เป็นวงจร)
ปัจจุบัน เปลี่ยนจาก Business to Business เข้าสู่ Consumer to Consumer (C2C) เช่น มี Blog, Community Website ให้บุคคลเข้าถึงกันได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านองค์กรเหมือนก่อน เราต้องหาโอกาสทางธุรกิจ สนองความต้องการ และให้ความช่วยเหลือผู้บริโภค โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของเค้า สร้าง C2C Market Space โดยพัฒนาจาก Solution Provider ให้เป็น Platform Provider … google เป็นตัวอย่างที่ดีของเรื่องนี้
– ความต้องการของผู้บริโภคคือ การมีส่วนร่วม, ความอิสระ (เช่น personalized website), การเปลี่ยนแปลง (ผ่านการสร้างสรรค์, ความรู้ และความหลากหลาย) และความมั่นคง (ผ่านการบริหารความเสี่ยง) ซึ่งเราสามารถพัฒนาโดยรวมแต่ละความต้องการเข้าด้วยกันได้ เช่น Edutainment ที่รวมความรู้เข้ากับความบันเทิง กลายเป็นสิ่งที่น่าสนใจขึ้น หรือ Interactive Community ที่ให้ผู้บริโภคเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์, ให้ความรู้
SRAN พัฒนา web ของเราให้เป็น Interactive Community ด้วย คือใน www.sran.org
Value Creation Model เป็นหัวใจของธุรกิจ เราต้องขึ้นเหนือน้ำ โดยอยู่ใน Innovation Model และ Business Model ให้ได้ เพราะเป็นส่วนที่สร้าง value คนไทยส่วนใหญ่อยู่ใต้น้ำ เสพสินค้าที่พัฒนาโดยต่างชาติ จึงได้เฉพาะส่วน Investment Model และ Profit Model ซึ่ง value ต่ำกว่ามาก à เรื่องนี้คิดว่า ตอนนี้เราโผล่พ้นผิวน้ำแล้ว
– แนวโน้ม C&D แซง R&D … C&D หรือ Connect & Develop คือการเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกเข้าร่วมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ดีที่เราน่าจะปรับใช้ ตัวอย่างที่ดี คือ wikipedia ที่วางตัวเป็น encyclopedia อนุญาตให้ทุกคนสามารถเพิ่มเติม หรือปรับปรุงฐานข้อมูลได้ ทำให้เนื้อหาแน่นขึ้น และเป็น encyclopedia ที่มีการ update ตลอดเวลา
– เราต้องสร้าง Business Model ให้ต่างจากคนอื่น เช่น เดิมธนาคารมองว่า คนรวยคือคนที่มี credit ปล่อยกู้ให้เฉพาะคนที่มีฐานะ/ค้ำประกันเงินกู้ได้ แต่ Grameen Bank มองว่าคนทุกคนมีเครดิตติดตัว ไม่ว่าจะรวยหรือจน คนจนอาจมีความรับผิดชอบในการชำระหนี้คืน มากกว่าคนรวย ทำให้แบงค์นี้ดึง demand ในส่วนของคนจนมาได้ และสร้างกำไรได้ à แต่ก็ค่อนข้างเสี่ยงเหมือนกัน !!
– เดิม Bill Gates เคยพูดว่า “The faster, the better” ยิ่งทำเร็วยิ่งดี แต่แนวโน้มปัจจุบันจะเป็น “The better, the faster” ถ้าพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ดีแล้ว ทุกอย่างจะไปได้เร็วเอง à เรื่องนี้ต้องลองพิสูจน์กันต่อไป
สรุปจาก ทิศทางของ Digital Economy โดยคุณหญิง Global Technology Integrated
เรียบเรียงใหม่ โดย Nontawattana Saraman
ผมเห็นว่าสรุปได้ดีเพื่อกันลืมลงนำมาลง blog ไว้ให้คนทั่วไปได้อ่านกันด้วย
Nontawattana Saraman