Big Data ส่วนใหญ่แล้วไม่ได้อยู่ในเมืองไทย เพราะอะไร ?

Big Data ส่วนใหญ่แล้วไม่ได้อยู่ในเมืองไทย เพราะอะไร ?”
ผมถือว่าโชคดีที่เป็นเด็ก ผมทำงานกับทีมงานอายุไม่มาก กับคนหนุ่มสาวที่มีไฟ (แก้ไขปัญหาเก่ง) จึงทำให้เราได้เรียนรู้อะไรได้ตลอด. ถึงแม้ผมมักจะเป็นหัวหน้าทีม … แต่เวลาทำงาน เราก็ทำเป็นเด็ก คือทุกขั้นตอนการทำงานเรามีส่วนร่วมหมด
เราเรียนรู้และแก้ไขปัญหาการรองรับข้อมูลขนาดใหญ่มานานแล้ว. …..เพราะขายอุปกรณ์และระบบที่ทำหน้าที่เก็บ Log files และวิเคราะห์ข้อมูล ในแบนด์ชื่อ “SRAN”
SRAN นิยมใช้กันในประเทศไทยพอสมควรเมื่อ 10 ปีก่อน
เราสร้าง SRAN มากับมือ. ทั้งเทคโนโลยีที่มาใช้ และ การติดตั้ง มันลงตัวมาก (เมื่อ 15 ปีอัพ)
SRAN รองรับข้อมูลเราผ่านระบบเครือข่ายทั้งในรูปแบบของการ Mirror Traffic. จากระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และ รูปแบบ syslog server มาเข้าเครื่อง (Appliance) ที่ทำซอฟต์แวร์ในการวิเคราะห์ข้อมูล แยกแยะ Protocol, Application ที่จำเป็นต้องใช้วิเคราะห์ถึงภัยคุกคามที่เกิดขึ้นจากการใช้งานข้อมูล. แต่ทุกอย่างรันบนเครื่องเพียงเครื่องเดียว … ซึ่งมีข้อจำกัดการรับข้อมูลขนาดใหญ่ จะได้เฉพาะหน่วยงานขนาดกลางและเล็กเท่านั้น.
บทเรียนที่เราต้องฟ่าฟันอีกครั้ง เมื่อเราได้รับโอกาส ในงานระดับชาติ ….ซึ่งเรารู้แม้ใส่ Server ราคาหลายล้านก็ไม่ได้สามารถทำได้
เราจึงเปลี่ยนการออกแบบสำหรับเครือข่ายขนาดใหญ่ ข้อมูลขนาดใหญ่ มาเป็นการทำ “Cluster” ราวๆปี 2552 ในงาน Project กระทรวงฯ แห่งหนึ่ง ทำร่วมกับ TOT
ข้อมูล Log ในแต่ละวัน ในสมัยโน้นไม่น้อยกว่า 10G ต่อวัน (ที่มีการบีบอัดข้อมูลแล้ว)
บน Bandwidth เครือข่ายที่เราสู้ได้ตอนนั้นคือ 40G. ย้อนไปเกือบ 10ปีนะ จน Aggregation load balancer. ยี่ห้อที่เรานำมาใช้คือ Anue Network ปัจจุบันนี้ไม่มีแล้ว เราแยกข้อมูลให้วิ่งออกทีละ 1G เพื่อมารับข้อมูลและวิเคราะหในงานนี้ EPS ไม่น้อยกว่า 50,000 session ต่อวินาที กระนั้นเราแทบจะต้านทานข้อมูลมหาศาลที่ไหลมาในระบบเราไม่ได้ หน้าที่ผมตอนนั้นไม่เพียงแต่ออกแบบระบบให้รองรับข้อมูลได้แล้ว ยังต้องเฝ้าระวังให้ระบบพร้อมใช้งานได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย แต่เราก็ผ่านจุดนั้นไปได้

ทีมงานเราได้เรียนรู้ระบบ Cluster มาจากเหตุการณ์นี้ แต่ในสมัยนั้นการทำงาน Cluster. ที่เราทำได้เป็นเพียงระดับ OS และ database. เวลาเราแก้ไขปรับเปลี่ยนโค้ดซอฟต์แวร์ เปลี่ยนทีมงานเขียนโปรแกรม มันทำให้เราต้องทำระบบใหม่อยู่เรื่อยๆ
ผ่านมาเกือบ 10 ปี การเรียนรู้ว่าเราต้องปรับตัว. การปรับตัว คือต้องแสวงหาความรู้. และทดลองทำ เราต้องทำและสู้กับมันอีกครั้ง. เมื่อเกิดสถานการณ์คับขัน. ….

Big Data ที่เกิดได้ง่ายที่สุด คือ เอา Log files มาวิเคราะห์
การออกแบบเราจึงเปลี่ยนไป และเราก็ได้เรียนรู้ว่า เมื่อทิศทางเป็น Cloud computing. แล้วเราจะเอาข้อมูลขนาดใหญ่นี้ไป สิงสถิตถ์ ที่ไหนดี. จะในประเทศ หรือ ต่างประเทศ
คำตอบที่ได้ คงต้องไปพึ่งพวกที่เป็น aws (amazon), google cloud, cloud microsoft azure และ digitalocean. ซึ่งอยู่ต่างประเทศทั้งหมด และยิ่งเรายิ่งห่างด้านเทคนิค บุคคลากร และกระบวนการที่ทำ ยิ่งห่างต่างประเทศ ชนิดที่ไม่สามารถตามทันได้เลย จนมีความจำเป็นที่ต้องไปใช้ข้อมูลฝั่งเขาหมด แบบให้ข้อมูลเขาแบบหมดเนื้อหมดตัวจริงๆ
ในหลายๆครั้ง เมื่อเราได้คุยเรื่อง Big Data ทำไมผมถึงกล้าพูดนักว่า “Big Data ส่วนใหญ่แล้วไม่ได้อยู่ในเมืองไทย”
เมืองไทยยังหาแหล่งสถิตย์ของข้อมูลขนาดใหญ่ นั้นทำได้ยาก(ส์) ทั้งนี้ด้วยเหตุผล 3 ประการ ดังนี้
  1. ขาด Cloud Computing. Infrastructure Management ความพร้อมของ IDC (Internet Data Center) ถึงแม้เรามีหลายเจ้าในประเทศ. “ประเทศเราพร้อมในด้าน Infrastructure แต่ขาดความพร้อมในการบริหารจัดการ”
หากพิจารณาให้ดี ข้อมูลที่เกิดขึ้นนี้จะอยู่ฝั่งนี้จะอยู่ที่ IDC โดยทั้งสิ้น จะทำเป็น Public Cloud Services หรือ จะทำเป็น Private Cloud Services ก็ย่อมทำได้ แต่แล้วทำไหมเรายังขาดเรื่องการบริหารจัดการอยู่อีก เป็นเพราะการบริหารจัดการนั้นไม่ได้เกิดขึ้นจากกระบวนการเพียงอย่างเดียว ส่วนใหญ่แล้วกระบวนการเราผ่าน เราได้ ISO ครบถ้วนที่ IDC พึ่งจะมี สิ่งที่ขาดคือ เทคโนโลยี และ คน
เทคโนโลยี IDC ไหนที่ไม่ใช้ Open Source และเขียนโค้คเองไม่ได้ จะต้นทุนสูงและคืนทุนได้ยาก ซึ่งหากหันไปดู IDC ในไทยโดยส่วนใหญ่ยังติดกับดัก การพึ่งพาเทคโนโลยีที่เป็น Enterprise เกรดจึงไม่สามารถไปถึงขั้นตอนที่กล่าวได้ และลองหันมาดูยักษ์ใหญ่ เช่น Cloudflare, Amazon aws และ Digital Ocean ได้ ไม่มีการใช้. brandname โดยเฉพาะตัวที่เปลืองต้นทุน ไม่ว่า Application Load balancing, Web Application Firewall, แม้กระทั่ง vm virtual machine มักใช้ docker และ open source ส่วน Google และ Microsoft ไปไกลกว่านั้น ยังสร้างเครื่องมือ Tools มาเองด้วย เช่นการเกิดขึ้นของ Kubernetes เป็นต้น
ซึ่งจากกับดักนี้เองทำให้ IDC ในไทยไม่สามารถพัฒนาให้หลุดพ้นการขายแบบธุรกิจโมเดลเดิมที่เคยเป็น เช่นขาย Co-lo, VPS, และ Hosting เป็นต้น
สรุปง่ายๆ ว่า IDC ไหนไม่ใช้ Open Source หรือใช้ไม่เป็นมีหวังเจ๊ง … เพราะ ROI คุณจะคืนทุนเมื่อไหร่ เมื่อเทียบกับการแข่งขันระดับโลกที่สามารถเข้ามาแย่งลูกค้าเรานอกพรมแดนได้ตลอดเวลา เช่น aws, digital ocean และ google cloud เป็นต้น
เมื่อขาดเทคโนโลยี จะทำให้ขาดความพร้อมใน 3 ด้าน คือ ระบบที่ทำงานได้ตลอดเวลา (Zero downtime) , รองรับการขยายตัวในอนาคต โดยไม่ถูกจำกัดด้วยฮาร์ดแวร์ (scalability), Automatic deployment. ยังไม่มีให้เลือกได้ดีเท่าต่างประเทศ.
ส่วนเรื่องสำคัญ คือ คนที่รู้ Open Source ขนาดนั้นจะหาได้ที่ไหน ที่มี skill ที่พัฒนา Tools ได้เองต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์มาก มีจำนวนน้อยมากในประเทศไทย
เป็นเหตุผล ทำให้เราเสียโอกาส. ข้อมูลจึงไหลไปอยู่ต่างประเทศ มากกว่าอยู่ในประเทศไทย
2. ขาดคนทำพวก Application Programming Management.
เราขาดบุคลากร คนที่รู้และปฏิบัติได้ ในการสร้างระบบ เรียกว่า “Microservice” ที่ไว้ค่อยจัดการกับ API และระบบ Automatic ด้านข้อมูล และการจัดการด้านโปรแกรมมิ่ง

การศึกษาของเราไม่ได้สร้างให้เด็กรุ่นใหม่ เรียนรู้กับวิธีการใหม่ๆ. หรือไปไม่ทัน. เราต้องรู้ในแต่ละระดับ เช่นรู้การทำงาน VM แบบ Container โดยใช้ Docker, เราต้องเรียนรู้การบริหารจัดการ Docker อย่าง Kubernetes (google สร้างมา), Docker swarm เหล่านี้คือ Orchestration บนการทำงานแบบ Agile เพื่อการทำเกิด “Resilience System” ทำให้เรายืดหยุ่นและคงทน ไม่ยึดติดที่บุคคล ระบบพร้อมทำงานตลอดเวลา.
“พวกนี้คือตัวเปลี่ยนโลก” ที่อยู่ ระบบ Backend หลังบ้านที่ผู้บริหารไม่สามารถเข้าถึงได้. ส่วน GUI ภายใต้หน้ากากที่ซับซ้อน จะใช้พวก ELK (Elasticsearch, Logstash, and Kibana) ต่อไป ขึ้นอยู่ว่าเราจะออกแบบงานอะไร. จะใช้ Bruffer มาช่วย เช่น radis หรือจะ cluster Hadoop. ก็แล้วแต่จะออกแบบกัน ซึ่งอย่างไรแล้วต้องมี Backend มาก่อนที่ว่ามาก่อน เป็นต้น
ในยุคนี้ ต้องบอกว่าเป็นโลกของ Open Source โดยสมบูณร์แบบอย่างแท้จริง หากใครยังคิดว่า Open Source และ Tools ที่ใช้ open source ไม่มีมาตรฐานล่ะ คุณจะตกการพัฒนาใหม่ๆ แบบตามไม่ทัน ที่กล่าวเช่นนี้ เพราะ code ที่ดีมีคนจำนวนมากช่วยกันปรับปรุง ถูกเก็บการแก้ไขผ่าน ระบบ Github เป็นต้น
ซึ่งทั้งหมดนี้ ประเทศเรายังขาดนักออกแบบระบบแนวใหม่เช่นนี้ อยู่จำนวนมาก. ทำให้เราเสียโอกาสการได้ทำที่ ที่ไว้สิงสถิตย์ของ Big Data
คนไทยที่ได้ทำ ส่วนใหญ่จะมาจากต่างประเทศ หรือได้ลองเล่นสนามจริงในประเทศไทย ก็น่ามีเพียงธนาคาร และที่มีข้อมูลตลอดเวลาเช่น ตลาดหลักทรัพย์ ในการซื้อขายหุ้น และ พวกที่ทำ SIEM Centralized Log Management เป็นต้น ที่จะเข้าใจในจุดนี้ได้
3. เวที ให้แสดงข้อมูลขนาดใหญ่ (ไม่มี)
หากเราจะมี Big Data ได้สมบูรณ์ เราต้องมีการทำระบบวิเคราะห์ข้อมูลการไปให้ถึงในระดับปัญญาประดิษฐ์ Artificial Intelligence (AI) นั้นนอกจากเราต้องมีอะไรบ้าง
อันดับแรกเราต้องมีข้อมูล และข้อมูลต้องบริหารจัดการแบบข้อ 1 และข้อ 2 ที่กล่าวมาได้ เราจึงนำข้อมูลเหล่านี้ มาทำ data science โดยผ่านการคำนวณ แบบ Machine Learning ซึ่งส่วนนี้เมืองไทยไม่ได้ขาดมาก มีผู้เชี่ยวชาญอยู่มาก. มีงานวิจัยอยู่มากในประเทศไทย
แต่เราไม่มีเวทีจริงให้เล่น ให้ลองผิดลองถูก เพราะไม่รู้จะเอาข้อมูลอะไร บริษัทใหญ่เท่านั้นที่มี แอพมือถือรายใหญ่ เท่านั้นที่มี. ซึ่งล้วนแล้วแต่อยู่ในต่างประเทศทั้่งสิ้น.
ไม่ว่าเราจะนำข้อมูลจากที่ไหน Log files เพื่อให้บริการ MSSP, ข้อมูลจาก crawler ข้อความ จาก website, Social network รูปภาพ, ใบหน้าในกล้องวงจรปิด, ข้อมูล transaction การโอนเงิน และอื่นๆ เป็นต้น ซึ่งเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นตลอดเวลา เราต้องทำตั้งแต่ข้อ 1 ถึง ข้อ 3 ที่กล่าวมา. หากขาดข้อใดข้อหนึ่ง ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปล. ข้อดีของการเป็นเด็ก เราจะได้ศัพท์ใหม่ ที่เราต้องรู้กันไป แบบ Life Long Learning. จริงไหมครับ ฝากไว้แบบคร่าวๆ เช่นนี้ โดยเฉพาะข้อ 2 เป็นการออกแบบมีรายละเอียดมากมาย ที่หลายคนมองข้ามไป
นนทวัตต์. สาระมาน
Nontawatt  Saraman
15/12/61

สร้างชาติด้วยดิจิทัล ให้คนไทยเป็นหนึ่งเดียว

นายนนทวัตต์ สาระมาน Nontawatt Saraman 
ได้ให้สัมภาษณ์ เรื่อง ทิศทางประเทศไทยกับยุค 4.0 ในงานวิศวกรรมแห่งชาติ 
กล่าวโดยย่อ “ผมคิดว่า ถึงเวลาแล้วที่ควรส่งเสริมนวัตกรรมที่เกิดจากสร้างสรรค์โดยคนไทย ปลูกจิตสำนึกนี้ไปทุกภาคส่วน
ด้วยประโยคที่ว่า “การสร้างชาติ ด้วยดิจิทัลให้คนไทยเป็นหนึ่งเดียว”
เพราะการขับเคลื่อนธุรกิจในยุตปัจจุบันมีการผูกขาดทางด้านข้อมูล Big data ล้วนแล้วแต่ไม่ได้อยู่ในประเทศไทยเลย
เรามีปัญหาในด้านการเก็บภาษีกับยักษ์ใหญ่ด้านดิจิทัลข้ามชาติ เหตุเป็นเพราะโลกเปลี่ยนเป็นการขับเคลื่อนแบบดิจิทัล ห่วงโซ่ธุรกิจแนวใหม่ที่เริ่มไร้คนกลางมากขึ้น ใครมี Platform และมี IDC ที่พร้อมด้วย infrastructure จะได้เปรียบ ซึ่งประเทศเรายังปรับตัวไม่ทัน
Big data จากอุปกรณ์ IoT ที่ติดตั้งในไทยเกินครึ่งเก็บข้อมูลอยู่ IDC ในต่างประเทศ
เรายังไม่มีแบนด์ที่เกิดจากคนไทย ที่สร้างความภาคภูมิใจของคนในชาติ ….
..ถึงเวลาที่เราต้องมาให้ความสำคัญ Digital Thailand First ให้โอกาสคนไทยด้วยกันก่อน”

สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย (Digital Council of Thailand) ประชุมคณะกรรมการ

 สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย (Digital Council of Thailand)  ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1

ภาพประวัติศาสตร์เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมา

 

เป็นภาพถ่ายรูปร่วมกันอย่างเป็นทางการ ของกรรมการสภาดิจิทัลฯ ถึงความสำเร็จในการจัดตั้งสภาแห่งนี้มาได้

หลังจากได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 ที่ผ่านมา ให้มีสภาดิจิทัลฯแห่งนี้ขึ้น

ทางสมาคมส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยีไซเบอร์ เป็นหนึ่งตัวแทนในสภาจะทำหน้าที่ให้อย่างเต็มที่เพื่อยกระดับประเทศไทยด้วยดิจิทัลต่อไป

เมื่อบริษัทยกทีมไปญี่ปุ่น

เมื่อบริษัทยกทีมไปญี่ปุ่น …
เห็นรอยยิ้ม พี่ๆน้องๆ เห็นความเป็นหนึ่งเดียวของพนักงานบริษัทฯ ก็ดีใจ..ที่เราทุกคน อดทนสู้ ล้มลุกคลุกคลาน มาด้วยกันกว่า 10 ปี

เราจะเดินหน้าไปด้วยกันนะ..แมวเหมียว SRAN Team

Log ใน 24 ชั่วโมง ที่ผ่านมามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง

ใน 24 ชั่วโมง ที่ผ่านมามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง
เราพบเหตุการณ์ทั้งหมดอยู่ 83,770,926 เหตุการณ์
ที่เกิดขึ้นมีการเคลื่อนไหว TCP 52,313,774 เหตุการณ์
UDP 30,864,576 เหตุการณ์
ICMP 592,361 เหตุการณ์
ข้อมูล Download 2,611 GB Upload 6,354 GB

มีความเสี่ยงระดับสูง 276,371 เหตุการณ์
ระดับกลาง 509,754 เหตุการณ์
ระดับต่ำ 8,334 เหตุการณ์

บน Sensor on 8 ตัว ทุกตัวโยนข้อมูลเข้าส่วนกลาง

ผ่านไป 90 วัน ข้อมูลจะขนาดไหนกัน จะเก็บอย่างไร จะอ่านอย่างไร จึงออกรายงานได้ (วัดกันตรงนี้)

** นี้เป็น Big Data ที่ใกล้ตัวเราที่สุด เกิดขึ้นตลอดเวลา ในที่ทำงานของคุณ
โดยทั้งหมดนี้ จะเห็นขึ้นได้นั้นอยู่ที่การออกแบบ

บรรยาย Cyber Insurance ให้กับทาง สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)

 ที่ปรึกษาบริษัททูนาเบิล โปรเจค ได้มาบรรยาย Cyber Insurance และ Security Awareness ให้กับทาง สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เพื่อให้ความรู้ด้าน Cybersecurity กับพนักงาน คปภ. ที่โรงแรมสวิสโซเทล กรุงเทพ รัชดา

เดินสายให้ความรู้ Cyber Security Insurance

เมื่อวันเสาร์ 17 พฤศจิกายน 2561 ที่ผ่านมา คุณ​ นนทวัตต์ สาระมาน นายกสมาคม​คมส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยีไซเบอร์ หรือ CIPAT ได้รับเชิญไปบรรยายในโครงการสัมมนาผู้บริหาร สำนักงานคณะกรรมกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ณ. โรงแรม The Cavalli Casa จ. พระนครศรีอยุธยา ได้บรรยายในหัวข้อเรื่อง “Cyber Security of Insurance” ให้แก่คณะผู้บริหารประกันภัยฯ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของ สำนักงาน คปภ.และธุรกิจประกันวินาศภัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับการดำเดินธุรกิจประกันวินาศภัยในสถานการณ์ปัจจุบัน และเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ความเข้าใจและให้ปฏิบัติงานไปในทิศทางเดียวกันและทั้งยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บริหารจากสำนักงาน คปภ.ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทุกจังหวัดทั่วประเทศ

ในการบรรยายของ คุณ​ นนทวัตต์ สาระมาน นายกสมาคมฯ บรรยายหัวข้อเรื่อง Cyber Security of Insurance นั้น ซึ่งได้รับความสนใจจากคณะผู้บริหารที่เข้าร่วมการสัมมนาในครั้งนี้ใด้ให้ความสำคัญอย่างมากเนื่องจากเป็นยุคใหม่ที่ต้องใช้ดิจิทัลนำหน้า หลังจากการบรรยายเสร็จสิ้นแล้ว จากนั้นได้ให้การสัมภาษณ์ แก่ผู้สื่อข่าวทางสถานีโทรทัศน์ NBT ซึ่งได้กล่าวสรุปถึงสาระสำคัญในข้อบรรยาย พร้อมได้กล่าวเสริมถึงนโยบายของสมาคมฯ

โดยทาง สมาคมส่งเสริมนวัตกรรมไซเบอร์ หรือ CIPAT คุณ นนทวัตต์​ สาระมาน นายกสมาคมฯ ได้กล่าวถึงกิจกรรมของทางสมาคม ชื่อ Checkfrist คือการรณรงค์ ให้เอาอุปกรณ์ IoT มาตรวจหาความเสี่ยงก่อนใช้งานจริง ทั้งนี้เพื่อที่จะให้ประเทศไทยได้ก้าวพ้นจากการติดอันดับ TopTen ความเสี่ยงภัยของภัยคุกคามทางโลกไซเบอร์ ในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งนายกสมาคมฯได้กล่าวย้ำในท้ายสุด

บรรยายเรื่องปิดรูรั่วสงครามข้อมูลในอุตสาหกรรม 4.0

 ประธานที่ปรึกษาบริษัททูนาเบิลโปรเจคฯ นายนนทวัตต์ สาระมาน ได้ให้สัมภาษณ์กับทางช่อง 5 ถึงแนวคิด สร้างชาติด้วยดิจิทัล ให้คนไทยเป็นหนึ่งเดียว ในงานวิศวกรรมแห่งชาติ ปี 2018 

โดยได้ขึ้นบรรยายในหัวข้อ ปิดรูรั่วสงครามข้อมูลในอุตสาหกรรม 4.0

ประธานที่ปรึกษาบริษัททูนาเบิลโปรเจคฯ นายนนทวัตต์ สาระมาน ได้ให้สัมภาษณ์กับทางช่อง 5 ถึงแนวคิด สร้างชาติด้วยดิจิทัล ให้คนไทยเป็นหนึ่งเดียว ในงานวิศวกรรมแห่งชาติ ปี 2018

ภาพถ่ายร่วมกับนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ดร.ธเนศ วีระศิริ เลขาธิการวิศวกรรมสถาน ทศพร ศรีเอี่ยม และ นนทวัตต์ สาระมาน ภาพแห่งความประทับใจ ในงานวิศวกรรมแห่งชาติปี 2018
Nontawatt with Bigdata

บรรยายเรื่อง Cyber Security of Insurance ให้ทาง คปภ

 เมื่อวันเสาร์ 17 พฤศจิกายน 2561 ที่ผ่านมา คุณ​ นนทวัตต์ สาระมาน นายกสมาคม​คมส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยีไซเบอร์ หรือ CIPAT และประธานที่ปรึกษาบริษัททูนาเบิล โปรเจค จำกัดได้รับเชิญไปบรรยายในโครงการสัมมนาผู้บริหาร สำนักงานคณะกรรมกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ณ. โรงแรม The Cavalli Casa จ. พระนครศรีอยุธยา ได้บรรยายในหัวข้อเรื่อง “Cyber Security of Insurance” ให้แก่คณะผู้บริหารประกันภัยฯ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของ สำนักงาน คปภ.และธุรกิจประกันวินาศภัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับการดำเดินธุรกิจประกันวินาศภัยในสถานการณ์ปัจจุบัน และเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ความเข้าใจและให้ปฏิบัติงานไปในทิศทางเดียวกันและทั้งยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บริหารจากสำนักงาน คปภ.ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทุกจังหวัดทั่วประเทศ

ในการบรรยายของ คุณ​ นนทวัตต์ สาระมาน นายกสมาคมฯ บรรยายหัวข้อเรื่อง Cyber Security of Insurance นั้น ซึ่งได้รับความสนใจจากคณะผู้บริหารที่เข้าร่วมการสัมมนาในครั้งนี้ใด้ให้ความสำคัญอย่างมากเนื่องจากเป็นยุคใหม่ที่ต้องใช้ดิจิทัลนำหน้า หลังจากการบรรยายเสร็จสิ้นแล้ว จากนั้นได้ให้การสัมภาษณ์ แก่ผู้สื่อข่าวทางสถานีโทรทัศน์ NBT ซึ่งได้กล่าวสรุปถึงสาระสำคัญในข้อบรรยาย พร้อมได้กล่าวเสริมถึงนโยบายของสมาคมฯ
โดยทาง สมาคมส่งเสริมนวัตกรรมไซเบอร์ หรือ CIPAT คุณ นนทวัตต์​ สาระมาน นายกสมาคมฯ ได้กล่าวถึงกิจกรรมของทางสมาคม ชื่อ Checkfrist คือการรณรงค์ ให้เอาอุปกรณ์ IoT มาตรวจหาความเสี่ยงก่อนใช้งานจริง ทั้งนี้เพื่อที่จะให้ประเทศไทยได้ก้าวพ้นจากการติดอันดับ TopTen ความเสี่ยงภัยของภัยคุกคามทางโลกไซเบอร์ ในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งนายกสมาคมฯได้กล่าวย้ำในท้ายสุด

ภาพบรรยากาศการบรรยาย

พลังงานกับเทคโนโลยี Blockchain

“ขอบคุณสำหรับโอกาส ,เพราะพลังาน คือจุดเริ่มต้นในทุกๆ ด้าน”

เมื่อพูดเรื่องพลังงานผมมักเดินหนี เพราะความรู้ไม่มี แต่เมื่อพลังงานเข้าสู่โหมดที่เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะเอาเทคโนโลยี IoT และที่สำคัญเอา Blockchain เข้ามาใช้ร่วมแล้ว …

ทำให้เราได้ทำการศึกษา พอมาอยู่ในเวทีของเราโดยที่ทุกอย่าง on “digital platform” และจากพื้นฐาน Network ที่ตนเองพอมีอยู่บ้าง ทำให้ทุกอย่างคลี่คลายไป และที่สำคัญทำให้ผมมองไปได้ไกลขึ้น..จากเหตุการณ์นี้

เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2561 ได้มีโอกาสได้ร่วมกับพี่ๆ กลุ่ม New Tokyo มาบรรยายเรื่อง “การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างพลังงานที่มีผลกระทบต่อธุรกิจอุตสาหกรรมและสังคมไทย”

จุดเปลี่ยนด้านนี้ที่สำคัญคือ “Blockchain Technology”

ด้วยการที่เราต้องทำแผนยุทธศาสตร์ชาติ ส่งเป็นรายงานให้ทางสถาบันฯ วธอ. รุ่น 5 จากกลุ่มนิวโตเกียว ที่ผมได้รับเกียรติมาขยายความจากคำว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” จะมาได้อย่างไรกับพลังงานของประเทศไทย ที่ต้องอธิบายเพราะคิดส่วนนี้ได้คืนก่อนบรรยาย เลยจำเป็นต้องมาชี้แจงส่วนนี้ด้วยตัวเอง จะเล่าแบบย่อๆ ดังนี้

มั่นคง จาก “Energy as a Services” เกิดจาก
Technology Convergence ทั้ง IoT และ 5G
จะทำให้เกิด Smart ทั้ง Smart home , city , farmer etc ทำให้ใช้พลังอย่างมีคุ้มค่า และนำไปสู่ Big data ที่มาพยากรณ์ ปรับปรุงพัฒนา ประสิทธิภาพ และข้อมูลนั้นจะทำให้รู้เท่าทันมากขึ้น

มั่งคั่ง จาก “Prosumer x.0”
Prosumer คำนี้ไม่ได้ใหม่ แต่เมื่อ Technology Blockchain มาผสมเข้าแล้ว ทำให้เกิด Business model ใหม่ในลักษณะ Economic sharing จากผู้บริโภค กลายร่างเป็นผู้ผลิต หรือ ครึ่งหนึ่งผลิตส่วหนึ่งบริโภค และแจกจ่าย กลายเป็น “Prosumer”
โดยทั่วไป Prosumer มีอยู่แล้ว แต่เมื่อเติม 4.0 ไป ต้องไปบวกกับ Blockchain ถึงจะเป็น Prosumer 4.0 หรือ 5.0 ก็ว่ากันไปในอนาคต

สิ่งนี้จะทำให้ ประชาชน คนทั่วไป จะกลายเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าได้ ประชาชนจะหารายได้ (ในแนวคิดสร้างรายได้ ในทางปฏิบัติราคายังไม่คุ้ม เพราะ equipment ที่ลงไปมันมีเยอะและราคายังไม่ได้ในปัจจุบัน ไม่ขออธิบายในที่นี้)

แต่แน่ๆ ตัวกลางที่เคยผลิตไฟฟ้า เช่น EGAT นี้คงต้องปรับตัวเช่นกัน ถ้าการ Disruption มาเยื่อนกับยักษ์ใหญ่อีกครั้ง

ยั่งยืน จาก “Energy resilience” ทำให้ยืดหยุ่นและพร้อมใช้งาน กระจายตัวไปยัง ชุมชน ชายขอบและนอกพื้นที่ได้อย่างยั่งยืนกว่าในอดีต ลดค่าใช้จ่ายในเรื่องสายส่ง ด้วยเทคโนโลยี Blockchain ที่เป็น decentralized และต่อยอดไปเป็นการ distributed โดยใช้ 5G จะทำให้เกิด “พื้นที่ ที่สามารถพึ่งพาตนเองได้” (สำคัญมาก)
ส่วนกระบวนการทำให้ Resilience จะมีการเชื่อมกันระหว่างเทคโนโลยี พร้อมที่เป็นระบบอิจฉริยะ ที่ควบคุมด้วย AI (Artificial Intelligence) มาผสมผสานกันอย่างลงตัว

ส่วนเรื่อง Cyber security จะเป็นเงาในทั้ง 3 ส่วนนี้ คืออย่างไรแล้วต้องมี และการออกแบบการวางแผนตั้งแต่เริ่มต้น เช่นกัน ถึงแม้ Blockchain เข้ามาช่วยความปลอดภัยเกือบทำให้การ Hack แทบเป็นไปได้ยากคือต้องยึด node ให้ได้มากกว่า 51% ก็ตาม แต่ลงในระดับ Network ส่วนที่มีปัญหาคือ IoT ที่เชื่อมระบบเครือข่ายและ Data สำหรับผู้ใช้งาน มากกว่า … ไว้ขยายความต่อหากมีโอกาส

และโลกเรารวมถึงประเทศไทย จะไปถึงจุดนั้นอีกไม่เกิน 10 ปีนับแต่นี้

พลังของ Blockchain จะเปลี่ยนให้สังคมไปในทิศทางที่ดีขึ้น ถ้าเราเปิดใช้อย่างไร้ ..อคติ