SRAN ไม่ต้องรับค่า Mirror Port ก็ทำงานได้


ข่าวดีสำหรับหน่วยงานที่มี Switch รุ่นเก่า และไม่สามารถ Mirror Port ได้ ตอนนี้ SRAN ได้เพิ่มคุณสมบัติการติดตั้งที่ไม่มีผลกระทบต่อระบบเครือข่ายเดิม และไม่ทำให้การรับส่งข้อมูลบนระบบเครือข่ายได้ช้าลง ไม่เปลือง Throughput และ Bandwidth อีกด้วย โดยติดตั้งแบบขวางระหว่างอุปกรณ์ และ อุปกรณ์ หรือ อุปกรณ์ กับระบบเครือข่าย ซึ่งทางทีมพัฒนาเรียกว่าการติดตั้งแบบ Network Transparent

จากเดิมการติดตั้งอุปกรณ์ SRAN Security Center สามารถทำได้ 2 วิธี ได้แก่

1. การติดตั้งแบบ In-Line Mode ซึ่งแบบนี้สามารถทำการป้องกันภัยในระดับเนื้อหา (Content) และป้องกันภัยคุกคามต่างๆ ที่ตรงตามฐานข้อมูลได้อีกด้วย เช่น ไวรัสคอมพิวเตอร์ Spam , Malware ชนิดต่างๆ แต่การติดตั้งแบบนี้เหมาะกับระบบเครือข่ายขนาดเล็ก ที่ไม่เกิน 100 เครื่อง หากมากกว่านั้นอาจทำให้ Throughput ของระบบเครือข่ายที่ติดตั้งนั้นช้าไปได้ หรือที่เรียกว่าอาการ คอขวดที่ระบบเครือข่ายได้ เช่นกัน ทางทีมพัฒนาจึงไม่นิยมให้ติดตั้ง แบบ In-line วิธีนี้เหมาะกับเครือข่ายขนาดเล็ก ที่ต้องการป้องกันภัยคุกคามด้วย และวิเคราะห์ข้อมูล เก็บบันทึกข้อมูลจราจร รวมถึงการเปรียบเทียบและวิเคราะห์ผลความเสี่ยง ออกรายงานผล และข้อมูลที่เก็บบันทึกมีการยืนยันความไม่เปลี่ยนแปลงของข้อมูลได้

2. การติดตั้งแบบ Passive Mode ซึ้งต้องใช้ความสามารถของอุปกรณ์ Switch ทำการ Mirror Port และส่งข้อมูลจราจร (Data Traffic) ส่งมาที่อุปกรณ์ SRAN วิธีนี้สามารถใช้ได้ทุกระบบเครือข่าย ทั้งขนาดเล็ก กลางและใหญ่ ซึ่งวิธีนี้ไม่สามารถป้องกันภัยได้ แต่สามารถเก็บบันทึกข้อมูลจราจร รวมถึงการประเมินความเสี่ยง ออกรายงานผลเปรียบเทียบตามมาตราต่างๆได้ พร้อมออกรายงานผล และข้อมูลที่เก็บบันทึกมีการยืนยันความไม่เปลี่ยนแปลงของข้อมูลได้

วิธีที่ทางทีมงานพัฒนาอุปกรณ์ SRAN ได้เพิ่มขึ้นเป็นการติดตั้งแบบที่ 3 เรียกว่า

3. การติดตั้งแบบ Network Transparent ส่วนนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ความสามารถของ อุปกรณื Switch ทำการ Mirror Port และส่งข้อมูลจราจร (Data Traffic) ให้ และยังสามารถติดตั้งได้เหมือนแบบที่ 1 คือ In-line และสามารถป้องกันภัยคุกคามในระดับ Network Layers ได้อีกด้วย ไม่มีผลกระทบต่อ Throughput ระบบเครือข่าย คือไม่ทำเกิดอาการคอขวดขึ้นได้ แต่จะไม่สามารถป้องกันภัยระดับเนื้อหาที่เป็น Application Protocol ได้เหมือนแบบที่ 1 คือไม่สามารถป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ Spam , Malware หรือการบุกรุกชนิดต่างๆ ได้ เพียงแค่รู้ว่ามีเหตุการณ์เหล่านี้เข้าสู่ระบบเครือข่าย เหมือนการติดตั้งแบบที่ 2 และสามารถใช้งานการติดตั้งแบบ Network Transparent นี้ได้ทุกรุ่น ส่วนคุณสมบัติอื่นๆ ก็สามารถทำงานได้ปกติคือ วิเคราะห์ข้อมูล เก็บบันทึกข้อมูลจราจร รวมถึงการเปรียบเทียบและวิเคราะห์ผลความเสี่ยง ออกรายงานผล และข้อมูลที่เก็บบันทึกมีการยืนยันความไม่เปลี่ยนแปลงของข้อมูลได้

เสริมประยุกต์ใช้ SRAN ให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Tips)
การ ติดตั้งแบบที่ 1 (in-line) และ แบบที่ 3 (Network Transparent) เราสามารถกำหนดเครื่องลูกข่ายให้ใช้งานอินเตอร์เน็ต ได้หากลงทะเบียน IP และค่า MAC Address หากไม่มีค่า IP หรือ MAC Address ในฐานข้อมูลก็ไม่สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตในองค์กรได้

โดยเปิด https://IP กำหนดค่าที่


1. คลิกเมนูหลัก Management

2. ทำการคลิก Protect

3. กำหนดกฏให้ตั้งค่า IP / MAC Address และ Domain Name

เท่า นี้ท่านก็สามารถกำหนดเครื่องที่ไม่ได้ลงทะเบียนตามขั้นตอนทั้ง 3 นี้ไม่สามารถออกสู่ระบบเครือข่ายได้ และใช้งานอินเตอร์เน็ตไม่ได้จนกว่าจะได้เพิ่มกฏ IP / MAC Address และ Domain Name ในหน้าบริหารจัดการนี้

ซึ่งวิธีนี้ไม่แตกต่างการ เทคนิค Captive Portal บนอุปกรณ์ Security Gateway หรือ Firewall หรือระบบ NAC (Network Access Control) แต่ด้วยการติดตั้งแบบ SRAN แตกต่างกับ Captive Portal ที่ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับระบบเครือข่ายเดิม และไม่ต้องตั้งค่า Default Gateway ใหม่จึงทำให้สะดวกในการใช้งานและติดตั้งระบบ


นนทวรรธนะ สาระมาน
Nontawattana Saraman

Posted

in

by

Tags: