SRAN จัดทำระบบสถิติภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

ทางทีมพัฒนา SRAN ไม่เคยหยุดน่ิงที่จะคิดค้นหาวิธีการเพื่อที่ทำให้สังคมไทยมีความตื่นตัวในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูล
ก่อนหน้านี้ก็มีการจัดทำ SRAN Comic การ์ตูนเสริมสร้างความเข้าใจวิธีการป้องกันภัยคุกคามที่เกิดจากการใช้ระบบสารสนเทศและอินเทอร์เน็ตมาแล้วในเว็บ http://comic.sran.org ซึ่งเหมาะกับคนทั่วไปและผู้ที่เริ่มต้นศึกษาด้าน IT Security
อีกทางหนึ่ง SRAN Technology ได้มีการรวบรวมสถิติภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยขึ้นด้วยประสบการณ์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศด้านความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลมากว่า 10 ทำให้ SRAN คิดว่าควรจัดทำระบบที่เกี่ยวข้องกับสถิติภัยคุกคามเพื่อเป็นการแจ้งเหตุ และเตือนภัยให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับรู้ถึงภัยคุกคามที่เกิดขึ้นกับตนเอง เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาให้เกิดความตะหนักและป้องกันภัยในอนาคตโดยตั้งชื่อว่า “ระบบสถิติภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย”

ที่มา

ก่อนหน้านั้นหากเราต้องการหาข้อมูลในเชิงสถิติที่เกี่ยวข้องกับกับภัยคุกคามที่เกิดขึ้นทางอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะเจาะจงไปที่ประเทศไทยแล้ว ยังไม่มีหน่วยงานใดได้มีการจัดทำสถิติอย่างเป็นทางการ
โดยกลุ่มพัฒนา SRAN ได้ติดตามผลภัยคุกคามเหล่านี้มาโดยตลอด และเล็งเห็นว่าสมควรที่จะจัดทำเป็นระบบสถิติเพื่อเป็นการเตือนภัยหน่วยงานที่ถูกบุกคุกคาม จากนักโจมตีระบบโดยนักโจมตีระบบนั้นอาศัยช่องโหว่ตามระบบปฏิบัติการ ช่องโหว่ของระบบแอฟลิเคชั่น จนทำให้เว็บไซต์จำนวนหนึ่งในประเทศไทยตกเป็นเหยื่อ และเกิดผลพ่วงตามมาคือเป็นแหล่งเพาะเชื้อยิ่งถ้าเป็นเว็บหน่วยงานราชการหรือระบบการศึกษา กองทัพ บริษัทห้างร้าน นั้นแล้ว จะมีภัยคุกคามต่อผู้ใช้งานโดยตรงได้
ดังนั้นระบบที่ทาง SRAN ได้จัดทำขึ้นก็เพื่อเป็นการเตือนภัยให้ปรับปรุง/แก้ไข สำหรับผู้ดูแลเว็บไซต์ของหน่วยงานได้ปรับปรุงและให้บริการอย่างปลอดภัยมากขึ้นในอนาคต
เป้าหมายของระบบสถิติภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
1. เพื่อจัดทำเป็นสถิติภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ที่มีความน่าเชื่อถือ ความถูกต้องของข้อมูลและสามารถอ้างอิงเป็นเอกสารได้
2. เพื่อเตือนภัยให้กับหน่วยงานที่ประสบเหตุได้ปรับปรุงแก้ไขให้ปลอดภัย และป้องกันการแพร่เชื้อไม่ให้ติดต่อแก่ผู้ใช้งานทั่วไป
3. เพื่อจัดทำเป็นประวัติข้อมูลเพื่อสามารถสืบค้นข้อมูลย้อนหลังได้
4. เพื่อให้ผู้ดูแลระบบที่ระบบที่เกิดช่องโหว่ได้มีการพัฒนาปรับปรุงเพื่อปรับไม่ให้เกิดช่องโหว่ของระบบของหน่วยงานที่ตนเองได้ดูแลอยู่ได้
การดำเนินการ
รูปแบบการจัดทำสถิติภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ทีมพัฒนา SRAN ได้ตั้งเป้าเฉพาะการตรวจสอบที่เกิดจากเว็บไซต์ที่มี IP Address และ Domain name ที่เป็นสาธารณะ (Public) ที่บุคคลทั่วไปก็สามารถเข้าถึงข้อมูลได้
โดยแบ่งเป็น 3 ชนิดภัยคุกคาม 7 กลุ่ม คือ ชนิดภัยคุกคามจะประกอบด้วย 7 กลุ่ม ดังนี้
ซึ่งแยกแยะตามรายชื่อโดเมนตามชื่อหน่วยงาน
1. สำหรับการศึกษา (Academic) หรือ โดเมน ac.th
2. สำหรับบริษัทห้างร้าน (Commercial Companies) หรือ โดเมน co.th
3. สำหรับรัฐบาล (Governmental Organizations) หรือ โดเมน go.th
4. สำหรับทหาร (Military Organizations) หรือ โดเมน .mi.th
5. สำหรับหน่วยงานที่ไม่หวังผลทางการค้า (Registered Non-profit Organizations) หรือ โดเมน or.th
6. สำหรับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (officially registered Internet Service Providers) หรือ โดเมน net.th
7. สำหรับหน่วยงานทั่วไป (Individuals or any others) หรือ โดเมน in.th
ชนิดของภัยคุกคามทั้ง 3 ชนิดประกอบด้วย
ชนิดที่ 1 : เว็บไซต์ในประเทศไทยที่ถูกโจมตี ได้แก่ การโจมตีชนิดที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในเว็บไซต์ (web defacement)
ชนิดที่ 2 : เว็บไซต์ในประเทศไทย ที่ตกเป็นฐานของฟิชชิ่ง (Phishing) จนกลายเป็นเว็บหลอกลวง
ชนิดที่ 3 : เว็บไซต์ในประเทศไทย ที่ติดไวรัสคอมพิวเตอร์ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเว็บไซต์ที่ถูกโจมตีแล้วสามารถเข้าถึงระบบได้จากนั้นจึงนำ file ที่ติดไวรัสเข้ามาใส่ในเว็บไซต์เพื่อใช้หลอกให้ผู้ใช้งานติดไวรัสต่อไป
จะเห็นว่าทั้ง 3 ชนิดภัยคุกคาม เป็นการเผยแพร่ข้อมูลทั่วไปผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานทั่วไปอาจตกเป็นเหยื่อได้ทุกเมื่อหากหลงผิดเข้าเว็บไซต์ดังกล่าว
โดยทางกลุ่มพัฒนา SRAN ได้จัดทำระบบ Crawler Honeypot เพื่อสืบเสาะหาแหล่งข้อมูลจากหลายที่ ที่ได้รับความน่าเชื่อถือจากทั่วโลก และทำการกรองข้อมูลที่ได้มาจัดทำเป็นสถิติเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ภัยคุกคามและเตือนภัยให้กับหน่วยงานที่พบช่องโหว่ต่อไป
ผลการจัดทำ
จะพบว่าสถิติที่พบจนถึงวันที่ 3 กันยายน 2554 พบว่า
ชนิดที่ 1 : เว็บไซต์ในประเทศไทยที่ถูกโจมตี เริ่มมีการจัดเก็บข้อมูลตั้งแต่ปี ค.ศ. 1999 จนถึงปัจจุบัน
จะเห็นว่าเว็บไซต์ในประเทศไทยที่ถูกโจมตีเป็นอันดับหนึ่งคือภาครัฐบาล (go.th) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1999 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน (3 กันยายน 2011) มีจำนวนถึง 4936 ครั้ง คิดเป็น 41.53% จากจำนวน 7 กลุ่มโดเมน
ชนิดที่ 2 เว็บไซต์ในประเทศไทยที่ตกเป็นฐานในการทำฟิชชิ่ง
พบว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา (.ac.th) เป็นฐานของการทำฟิชชิ่งมากที่สุด คิดเป็นจำนวน 42.3% จำนวนจนถึงปัจจุบันถึง 512 ครั้ง
ชนิดที่ 3 เว็บไซต์ในประเทศไทย ที่ติดไวรัสคอมพิวเตอร์
พบว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา (.ac.th) เป็นฐานของการไวรัสคอมพิวเตอร์มากที่สุด คิดเป็นจำนวน 48.3% จำนวนจนถึงปัจจุบันถึง 616 ครั้ง
บทวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน
จากสถิติที่นำเสนอ จะพบว่าหน่วยงานราชการและหน่วยงานด้านการศึกษา โดยส่วนใหญ่มีเว็บไซต์ประจำหน่วยงาน ซึ่งหลายเว็บไซต์นั้นยังมีช่องโหว่ที่ทำให้ผู้ไม่ประสงค์ดี (Attacker) สามารถเข้ามายึดระบบและใช้เป็นฐานในการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นภัยคุกคาม ซึ่งผู้ไม่ประสงค์ดีนั้นอาจตั้งใจโจมตี หรือไม่ตั้งใจโจมตีระบบก็ได้ โดยการสร้างสคิปต์ค้นหาช่องโหว่ที่เป็นภัยคุกคามในปัจจุบันแล้วหากพบเว็บไซต์ที่มีช่องโหว่ก็ทำการเข้ายึดโดยอัตโนมัติ จากนั้นก็ทำเป็นฐานในการโจมตีต่อไป ซึ่งถือได้ว่าเป็นกลายเป็นกองทัพ botnet ในอนาคต
ดังนั้นเว็บไซต์หน่วยงานที่มีรายชื่อในฐานข้อมูล http://www.sran.org ควรทำการจัดทำระบบให้แข็งแรง ปิดช่องโหว่ที่เป็นภัยคุกคามต่อระบบเว็บไซต์ได้ (Hardening) ซึ่งสามารถตรวจหาช่องโหว่ที่เป็นภัยคุกคามในปัจจุบันได้จากข้อมูล CVE (Common Vulnerability Exposures) ซึ่งทางทีมงานพัฒนา SRAN
ได้จัดทำไว้ดูข้อมูลแบบอัพเดทวันต่อวันที่ http://www.sran.net/statistic/#vulnerabiltiy
และสำหรับผู้ดูแลระบบเว็บไซต์ จึงคำนึงถึงความมั่นคงปลอดภัยอยู่ตลอดเวลาว่าในวันที่ประกาศเป็นเว็บไซต์ มี Public IP Address มีรายชื่อ Domain name แล้ว ก็ต้องมีระบบที่ปลอดภัยด้วยเพราะคนทั่วโลกก็สามารถเข้าถึงข้อมูลที่นำเสนอได้ตลอด ดังนั้นควรมีการหมั่นอัพเดทระบบที่เป็นช่องโหว่ให้ผู้บุกรุกเข้าถึงข้อมูลได้
เพิ่มเติม
สถิติ SRAN ถูกนำไปออกอากาศในรายการแบไต๋ไฮเทค เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2554 ทางช่อง C-Channel โดยพูดถึงรายงานสถิติที่เว็บไทยโดนโจมตี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1999 จนถึงปัจจุบัน โดย SRAN เก็บรวบรวมข้อมูลไว้ อธิบายโดย อ.Supadej Sutthiphongkanasai

เผยแพร่โดย กลุ่ม SRAN พัฒนา (SRAN Dev)
นนทวรรธนะ สาระมาน
Nontawattana Saraman