อะไรคือภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ ตอนที่ 2

เขียนโดย นนทวัตต์ สาระมาน CIPAT

เป็นที่ทราบกันดีว่าข้อมูลคือขุมทรัพย์ ในด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ประเทศไทยเรานำเข้าสินค้าเทคโนโลยีดิจิทัล ไม่ว่าเป็น Network, Software, Security Platform, SaaS Software as a Services เรานำเข้า 100% และส่งออก 0% ซึ่งยิ่งส่งเสริมเท่าไหร่เรายิ่งขาดดุลการค้าเท่านั้น ซึ่งเป็นแบบนี้มานานกว่าทศวรรษ และยังดำเนินต่อไปอีกอย่างน้อย 5 ปี ถ้าเราไม่เปลี่ยนแนวคิดและแนวทางปฏิบัติ จะกระทบต่อความมั่นคงของประเทศอย่างคาดไม่ถึง

ข้อสรุปพร้อมแนวทางแก้ไข อะไรคือผลกระทบต่อด้านความมั่นคงจากสิ่งที่กล่าวมา

  1. เราไม่มีสิทธิต่อรอง เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างไปประมวลผลและควบคุมเราจาก SaaS บน Cloud ในต่างประเทศ หากมองให้ดีจะเหลือแต่ประเทศมหาอำนาจ ที่สามารถควบคุมเราได้สิ่ง ทั้งระบบยกตัวอย่างเช่น Infrastructure จากระบบ Sensor 5G, การวิเคราะห์ข้อมูลจากการขนส่งสินค้าในประเทศ, ข้อมูลการแพทย์ยกตัวอย่างเช่น การประมวลผล DNA ของคนทั้งประเทศ ที่ต้องไปประมวลผลบน Cloud SaaS จากต่างประเทศ, ระบบ Cybersecurity ที่เป็น Endpoint Security ที่ส่วนใหญ่บริหารจัดการผ่านระบบ Cloud จากต่างประเทศ เป็นต้น เหล่านี้ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญและเกี่ยวโยงกับความมั่นคงของชาติ โดยที่ตาของมนุษย์อย่างเราเรา ไม่สามารถมองเห็น จึงไม่ได้ให้ความสำคัญ หรือแม้แต่ระบบ Platform ที่เป็นที่ใช้อย่างแพร่หลาย ขอยกตัวอย่างโดยสังเขป อาทิเช่น  API จากบริษัทมหาอำนาจรายใหญ่ อาทิเช่น Google  ที่เรามักใช้ซอฟต์แวร์เชื่อมกับ API Google form, Google Doc, Google Map, Google search  ที่ทุกหน่วยงานในประเทศไทยใช้ หากมีการคิดราคาจากสิ่งนี้ หรือ ยกเลิกไม่ให้ประเทศไทยใช้ ก็จะมีผลกระทบต่อการทำงานทันที อาจจะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างพื้นฐานในประเทศทั้งภาคการเงิน อุตสาหกรรม และวิถีชีวิตของประชาชนในชาติ
  2. การจ้างงานในประเทศไทย จ้างคนทำงาน จะน้อยลง เมื่อเป็นระบบ SaaS Cloud services จากต่างประเทศ ทำให้การทำงานการจ้างคน จ้างผู้เชี่ยวชาญจะน้อยลง เพราะทุกอย่างบริหารจัดการผ่านระบบ Cloud ยกตัวอย่างบริการด้าน Cybersecurity อันได้แก่ MSSP (Management Security Services Provider)  ที่ในอดีตเราอาจใช้งบประมาณที่ต้องลงทุนสูง แต่ปัจจุบันไม่ต้องลงทุนอะไรแต่ใช้เพียง SaaS จากต่างประเทศก็สามารถทำงานให้เราตลอดเวลา และมีการจ้างงานคนไทยน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด
  3. เสียดุลการค้าด้านเทคโนโลยี โดยการเป็นผู้ใช้งานที่ดีตลอดไป ทำให้เราทำอะไรไม่ทัน เมื่อเทคโนโลยีก้าวกระโดด ไปไกลมาก การจะตามให้ทันหรือคิดได้แต่ทำไม่ได้เพราะเทคโนโลยีบางด้านไปไกลมากแล้วคนในประเทศเราก็ต้องเป็นผู้ใช้ และซื้อสินค้าจาก SaaS Cloud จาก Platform จากต่างประเทศตลอดไป

แนวทางการแก้ไข (โดยสังเขป) ประกอบด้วย  

  1. เราต้องรณรงค์ให้ใช้ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาจากประเทศไทย สร้างแบรนด์คนไทย อันทำให้เกิดความภาคภูมิใจของคนในชาติ ถึงแม้จะรู้ว่าความสามารถไม่ถึงขั้นในต่างประเทศ แต่ต้องหาจุดที่ให้คนไทยมีงานทำ และเป็นซอฟต์แวร์ที่เชื่อมกับ Platform จากประเทศมหาอำนาจ เพื่อไม่ให้เป็นการกีดกันทางการค้า เช่น เราเป็นส่วนหนึ่งที่ขาดไม่ได้เมื่อทำงานร่วมกับ Platform ข้ามชาติ จำเป็นต้องใช้ร่วมกับเรา ซึ่งเราต้องมีกลยุทธในการค้าและการทูตพอสมควรโดยไม่ให้เป็นการสร้างปัญหาระหว่างประเทศและยังดูเหมือนประเทศมหาอำนาจยังได้ประโยชน์กับเราอยู่ เพียงแค่เราต้องการจุดเริ่มต้นและพร้อมเติบโตขึ้นในระยะยาวดั่งเช่นการสร้างรากแก้วที่หยั่งลึกและพร้อมต่อยอดในอนาคต
  2. Compliance ที่เกิดจากกฎหมายในประเทศไทย ทำให้ดี จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจดิจิทัล และทำให้บริษัทซอฟต์แวร์ในประเทศไทยได้มีงานทำขึ้น  และเมื่อเอกชนและบริษัท SME ทั้งที่เป็นบริษัทที่ใช้บริการ และ บริษัทให้บริการ ในประเทศไทยอยู่รอดได้ ก็จะมีเงินภาษีจ่ายให้รัฐบาล การเศรษฐกิจหมุนเวียนในชาติ ต่อไปเป็นต้น ภาครัฐบาลไม่ควรมาแข่งขันกับเอกชน และหากภาครัฐบาลจะทำซอฟต์แวร์แจกฟรีจำเป็นจ้างงานจากบริษัท SME หลายๆบริษัทไม่ใช่จ้างเพียงรายใดรายหนึ่งจะไม่ทำเกิดการกระจายรายได้ และเพื่อเป็นการพยุงให้ บริษัท SME อยู่รอด โดยเฉพาะ SME ที่ทำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี เป็นต้น
  3. พยายามสร้างจุดพักข้อมูลสำหรับนำข้อมูลที่จาก Cloud ต่างประเทศกลับมาประเทศไทย อาจจะใช้โอกาสจากกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล PDPA ให้องค์กรหน่วยงานรัฐบาล ที่ใช้ Cloud ต่างประเทศ ใช้ SaaS รายใหญ่จากต่างประเทศ ให้ขอสำเนาข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลอ่อนไหวส่วนบุคคล ที่เป็นของคนไทย ให้ข้อมูลเหล่านี้กลับมาเก็บในประเทศไทย โดยเรียกว่าการทำ Data Station จุดพักข้อมูลของประเทศ
  4. หยุดสร้างความฉลาดข้อมูลในต่างแดน โดยสร้างความตระหนักรู้ผู้คนรวมถึงหน่วยงานรัฐ หากต้องการใช้ SaaS ที่ต้องส่งข้อมูลไป Cloud Services ในต่างประเทศควรมีการเข้ารหัสไฟล์ก่อนส่งไปเก็บและประมวลผลยังผู้ให้บริการ  เพื่อทำให้ AI ในต่างแดน ที่นำข้อมูลของคนไทยไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก ทั้งนำไปประมวลบน Cloud Services นั้นไม่สามารถทำได้หากข้อมูลนั้นเข้ารหัสตั้งแต่ออกจากประเทศไทย กุญแจที่ถอดรหัสข้อมูลควรอยู่เป็นของเราเอง นี้คือการรักษาอธิปไตยข้อมูลของตัวเองที่ง่ายที่สุด เมื่อมีการส่งข้อมูลไปต่างประเทศ อันได้แก่ Cloud Storage Provider, การทำงาน SaaS ต้องมีการเข้ารหัสข้อมูลก่อน เพื่อเป็นการรักษาอธิปไตยข้อมูลของท่าน และหน่วยงานของท่านเอง เพื่อหยุดความฉลาดของ Platform ข้ามชาติต่อไป
  5. อาศัยกฎหมายที่มีอยู่ให้เหมาะสมและเกิดปประโยชน์กับประเทศ พรบ.ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์  กฎหมาย พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมาย พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ในมาตรา 26 ที่มีการปรับปรุงเรื่องการจัดเก็บบันทึกข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ 2564  มาเป็นการสร้างงานในประเทศไทย ประกอบด้วยดังนี้
  6. ระดับองค์กร หน่วยงานรัฐบาล ต้องลดการนำเข้า โดยภาครัฐต้องกล้าที่ใช้เทคโนโลยีจากประเทศ หากความสามารถของเทคโนโลยีของคนไทยยังไปไม่ถึงต่างประเทศ ให้ใช้ร่วมกัน คือ มีการใช้ Platform ข้ามชาติแล้วแต่ต้องซื้อซอฟต์แวร์ของไทย และต้องมีความกล้าที่ออกหลักเกณฑ์พิจารณาในการจัดซื้อจัดจ้างให้พิจารณาเทคโนโลยีที่ผลิตจากประเทศไทยก่อน
  7. ระดับผู้ขายสินค้า ตัวแทนขายสินค้าและบริการในประเทศไทย  การจัดซื้อภาครัฐในด้านเทคโนโลยี ปีหนึ่งๆ กว่าหมื่นล้านบาท  เป็นงบประมาณที่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจดิจิทัลได้ในระดับหนึ่ง บริษัทที่ได้งานภาครัฐ ส่วนใหญ่เป็น บริษัท System Integrator (SI) รายใหญ่ซึ่งมีไม่กี่บริษัทในประเทศไทย  การขับเคลื่อนครั้งนี้ต้องให้ SI รายใหญ่ ช่วยนำเทคโนโลยีคนไทย หรือต้องนำเทคโนโลยีคนไทยไปใช้ในส่วนหนึ่งของงานโครงการ SI ตัวแปรสำคัญที่มักจะเลือกสินค้าและบริการให้กับหน่วยงานรัฐบาล SME ผู้ผลิตหากได้ร่วมงาน SI รายใหญ่ ก็จะทำให้ SME รอดพ้นวิกฤต และหาก SME บริษัทซอฟต์แวร์ อยู่รอดได้ (แบบพี่ช่วยน้อง) ก็จะมีการจ้างงานเพื่อพัฒนาต่อ หาก SME มีกำไร กำไรพวกนี้ก็เป็นภาษีที่จ่ายเข้ารัฐบาลต่อไปนั้นเอง  แต่หากใช้ Platform ข้ามชาติ ภาษีส่วนนี้ก็จะเก็บได้เฉพาะ บริษัท SI รายใหญ่ที่มีไม่กี่รายในประเทศไทย และผลต่างราคาของ SaaS ที่มีการประกาศราคาและบริการในหน้าเว็บของผู้ผลิตอยู่แล้ว จึงไม่สามารถสร้างมูลค่าจากส่วนนี้ได้เลย สุดท้าย SI ในประเทศไทยก็ไม่สามารถอยู่รอดได้ต่อไป และเมื่อถึงเวลานั้นรัฐบาลก็จะเก็บภาษีได้น้อยลงไปอีก

ข้อเสนอแนะจากผู้เขียน

  • ระดับองค์กร หน่วยงานรัฐบาล ต้องลดการนำเข้า โดยภาครัฐต้องกล้าที่ใช้เทคโนโลยีจากประเทศ หากความสามารถของเทคโนโลยีของคนไทยยังไปไม่ถึงต่างประเทศ ให้ใช้ร่วมกัน คือ มีการใช้ Platform ข้ามชาติแล้วแต่ต้องซื้อซอฟต์แวร์ของไทย และต้องมีความกล้าที่ออกหลักเกณฑ์พิจารณาในการจัดซื้อจัดจ้างให้พิจารณาเทคโนโลยีที่ผลิตจากประเทศไทยก่อน
  • ระดับผู้ขายสินค้า ตัวแทนขายสินค้าและบริการในประเทศไทย  การจัดซื้อภาครัฐในด้านเทคโนโลยี ปีหนึ่งๆ กว่าหมื่นล้านบาท  เป็นงบประมาณที่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจดิจิทัลได้ในระดับหนึ่ง บริษัทที่ได้งานภาครัฐ ส่วนใหญ่เป็น บริษัท System Integrator (SI) รายใหญ่ซึ่งมีไม่กี่บริษัทในประเทศไทย  การขับเคลื่อนครั้งนี้ต้องให้ SI รายใหญ่ ช่วยนำเทคโนโลยีคนไทย หรือต้องนำเทคโนโลยีคนไทยไปใช้ในส่วนหนึ่งของงานโครงการ SI ตัวแปรสำคัญที่มักจะเลือกสินค้าและบริการให้กับหน่วยงานรัฐบาล SME ผู้ผลิตหากได้ร่วมงาน SI รายใหญ่ ก็จะทำให้ SME รอดพ้นวิกฤต และหาก SME บริษัทซอฟต์แวร์ อยู่รอดได้ (แบบพี่ช่วยน้อง) ก็จะมีการจ้างงานเพื่อพัฒนาต่อ หาก SME มีกำไร กำไรพวกนี้ก็เป็นภาษีที่จ่ายเข้ารัฐบาลต่อไปนั้นเอง  แต่หากใช้ Platform ข้ามชาติ ภาษีส่วนนี้ก็จะเก็บได้เฉพาะ บริษัท SI รายใหญ่ที่มีไม่กี่รายในประเทศไทย และผลต่างราคาของ SaaS ที่มีการประกาศราคาและบริการในหน้าเว็บของผู้ผลิตอยู่แล้ว จึงไม่สามารถสร้างมูลค่าจากส่วนนี้ได้เลย สุดท้าย SI ในประเทศไทยก็ไม่สามารถอยู่รอดได้ต่อไป และเมื่อถึงเวลานั้นรัฐบาลก็จะเก็บภาษีได้น้อยลงไปอีก

หมายเหตุ : บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีที่มาเปิดบริษัทในประเทศไทย ไม่ว่าเป็น Microsoft Google Huawei เป็นต้น มีความเป็นไปได้แค่ไหน? ให้นำเทคโนโลยีของคนไทยไปใช้อยู่บน Data Center ที่ตั้งในประเทศไทย และมี ซอฟต์แวร์คนไทย อยู่ใน Marketplace บน SaaS ของ Cloud ผู้ให้บริการรายใหญ่เหล่านี้ เพื่อเปิดโอกาสให้คนไทยได้มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยอาศัยกฎหมาย พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ก็ดี พรบ. ความมั่นคงทางไซเบอร์ ก็ดี ซึ่งจะทำให้มีการจ้างงานให้เกิดขึ้นในประเทศไทยได้ ในทางอ้อม และได้ใช้เทคโนโลยีไทยร่วมกับต่างชาติ และ ถ้าดูข้อมูลในกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) กระทรวงพาณิชย์ ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา คือ ปี 2560 – 2563 บริษัทที่ได้กำไรสุทธิมากกว่า 500 ล้านบาท มีกว่า 5,000 บริษัทที่มีอยู่ในประเทศไทย และกว่า 20% เป็นบริษัทข้ามชาติที่มาลงทุนในประเทศ  ด้วยกำไรบริษัทขนาดนั้นสามารถใช้สินค้าและบริการด้านดิจิทัลของคนไทยได้ หรือไม่? ขอยกตัวอย่างบริษัทจากประเทศญี่ปุ่น อาทิเช่น โรงงานประกอบรถยนต์ที่ตั้งในนิคมอุตสาหกรรมประเทศไทย ประเทศเหล่านี้ก็จะยก Ecosystem ทั้งสินค้าและบริการจากบริษัทสัญชาติตนเอง SaaS ที่ใช้งานก็โยงบริการด้านดิจิทัลไป Cloud Services ของประเทศของเขา โดยไม่ได้มาใช้ซอฟต์แวร์และบริการในประเทศไทยเลย งานที่เกิดจากประเทศไทยมักได้เพียงแค่การติดตั้งอินเทอร์เน็ต การวางโครงข่ายเพื่อเชื่อมอินเทอร์เน็ต หากเปลี่ยนจุดนี้ได้ก็จะเกิดการสร้างงานที่มีคุณค่าในประเทศและมีการจ้างงาน SME ผู้ผลิตซอฟต์แวร์สัญชาติไทยได้ ซึ่งส่วนนี้สามารถนำไปขยายต่อได้และมีรายละเอียดพอสมควรจึงไม่ขอกล่าวในที่นี้

Nontawatt Saraman 22/06/65


Posted

in

by

Tags: