ร่วมงาน InterMach 2022 พัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้ยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีไอโอที ในยุค Digital Transformation

วันที่ 20 พ.ค. 2565 สมาคมไทยไอโอทีได้รับเกียรติจากผู้จัดงาน InterMach 2022 ให้ร่วมจัดงานเสวนาและบรรยายเกี่ยวกับเทคโนโลยีไอโอที เชิญ คุณนนทวัตต์ ร่วมเป็น speaker สำหรับ Panel Discussion ในหัวข้อ “พัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้ยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีไอโอที ในยุค Digital Transformation”

  • งานสัมมนา INTERMACH 2022
  • ณ ไบเทค บางนา
  • วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม 2565
  • เวลา 14.45 – 16.15 น. (90 นาที)

บรรยาย PDPA ให้กับ มหาวิทยาลัยสยาม

วันที่ 21 พฤษภาคม 2565 นายนนทวัตต์ สาระมาน ได้รับเกียรติให้ร่วมบรรยายงานกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่่วนบุคคล หรือชื่อย่อ PDPA ให้กับทางมหาวิทยาลัยสยาม ในโครงการบัณฑิตพันธ์ุใหม่ 65

ตัวอย่างช่วงเวลาบรรยาย

ร่วม MOU บริษัท BSI กับ สมาคม CIPAT

เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2565 การลงนามความร่วมมือระหว่างสมาคมส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยีไซเบอร์ (CIPAT) กับสถาบันมาตรฐานอังกฤษ (ประเทศไทย) หรือ BSI เพื่อการส่งเสริมและขับเคลื่อนมาตรฐานสากลด้านนวัตกรรม (ISO56002) และระบบการจัดการความมือทางธุรกิจ (ISO44001) โดยมีท่านนายกสมาคม คุณนนทวัตต์ สาระมาน และกรรมการบริหาร ร่วมงาน

สัมมนาออนไลน์เรื่องเมทาล็อคการเก็บบันทึกข้อมูลเพื่อความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์

สัมมนาออนไลน์ CIPAT จัดโดย DigiTech ASEAN เรื่อง Metalog

ในวันที่ 24 เมษายน 2565 คุณนนทวัตต์ สาระมาน ได้บรรยายในหัวข้อ เมทาล็อคการเก็บบันทึกข้อมูลเพื่อความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ เมื่อการทำงานสมัยใหม่ เป็นการทำงานที่ไหนก็ได้โดยไม่ต้องเข้าออฟิคเราจะเก็บ Log อย่างไง เมื่อมีการใช้งาน SaaS Google workspace, microsoft 365, aws
เราจะนำข้อมูลที่ใช้ สำรองไว้กับหน่วยงานเราได้เพื่อทำตามกฎหมายไทยได้อย่างไร
เราจะยืนยันตัวตนอย่างไร ให้มีความปลอดภัยกับองค์กร เมื่อเราทำงานที่ไหนก็ได
เราจะมีการป้องกะนภัย เมื่อใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา หรือ Endpoint ไม่ให้ติดเชื้อ และก่อเกิด Ransomware ผ่านการทำงานแบบ Work form anywhere
หาคำตอบได้ในงานสัมมนาออนไลน์นี้

ช่วงถาม-ตอบ

CIPAT ยกระดับอาชีพด้านไซเบอร์กับ DISDA

รู้สึกเป็นเกียรติอย่างสูง ที่เป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับอาชีพด้านไซเบอร์ฯ
ช่วงนี้เป็นช่วงสร้างคนด้าน Cybersecurity รัฐบาลเริ่มออกมาจัดหลายหน่วยงาน ขอบพระคุณหน่วยงาน DISDA สถาบันพัฒนาบุคลากรดิจิทัล กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และTDGA สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล รวมถึงมหาวิทยาลัยศรีปทุม และ ม.ราชมงคลสุวรรณภูมิ ที่ให้โอกาสทาง CIPAT ร่วมงานในครั้งนี้

วันที่ 14 มีนาคม 2565 ที่ สถาบันพัฒนาบุคลากรดิจิทัล (DISDA) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นมาใหม่เพื่อดูแลการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล

โดยมีการจัดทำหลักสูตรระยะสั้นเพื่อสร้างแรงงานพันธุ์ใหม่ ที่เรียนไปปฏิบัติจริงได้ ไม่ว่าจะเป็นการ Configure อุปกรณ์ Firewall ยี่ห้อที่บริษัทและหน่วยงานในประเทศไทยนิยมใช้, การใช้เทคโนโลยีในจัดเก็บข้อมูลตามกฎหมายประเทศไทย เพื่อการดูแลและรักษา, การสำรองข้อมูลกู้คืนข้อมูล, งานเฝ้าระวังและป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ เป็นต้น เน้นการปฏิบัติเพื่อสามารถทำงานได้จริง และมาทดแทนแรงงานที่ขาดแคลนแและเป็นการ upskill เพื่อแรงงานไทยมีทางเลือกใหม่ๆ ที่สามารถปฏิบัติงานได้จริง

“สร้างคนและงาน เพื่อพัฒนาประเทศไทย”

“สร้างคนและงาน เพื่อพัฒนาประเทศไทย”สร้างอาชีพให้คนไทย รองรับสายงานใหม่ด้านอุตสาหกรรมดิจิทัล

ขอเชิญชวนทำแบบสำรวจการพัฒนากำลังคนด้านอุตสาหกรรมดิจิทัล จากคณะที่ปรึกษา Industry Competency Board #สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพได้ที่นี้เพื่อการพัฒนาอาชีพให้เหมาะสมกับกำลังคนในประเทศ

รับเสื้อ CISO 1 กับ รมต. DES

วันที่ 31 มีนาคม 2565 ที่โรงแรมแบงค็อก แมริออท มาร์ควิส ควีนส์ปาร์ค งานจัดโดย สกมช. หลักสูตร Executive CISO รุ่นที่ 1

มี รมต กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้เป็นผู้แจกเสื้อ Executive CISO

เล่างานศิลปะชิ้นใหม่ Metalog

ผมได้มีโอกาสเรียนหลักสูตร Executive CISO รุ่นที่ 1 ที่ทาง สกมช. จัดขึ้นนับว่าเป็นสายอาชีพที่ผมใฝ่ฝันและทำด้านนี้มาเป็นเวลายาวนาน
โดยในหลักสูตรนี้ได้ให้แนะนำตัวเองภายใน 6 นาที ผมได้แนะนำตัวและกล่าวประโยคแรกว่า ผมคือ “พ่อครัวไซเบอร์”
หากเทียบการทำอาหาร คือต้องลงมือทำและลงมือปฏิบัติ เข้าครัว และทำอาหาร ปรุงหาร แต่ผมก็คงเป็นคนชอบคิดสูตรอาหาร อาหารนี้จะอร่อย เป็นที่นิยมหรือไม่ได้เป็นที่นิยม คนชอบไม่ชอบ โดยทุกการปรุงแต่งอาหารเมนูนี้ต้องเริ่มจากตัวผม
ผมทำ SRAN เมื่อ 19 ปีที่แล้ว ช่วงหลังเริ่มทำถี่ขึ้น ผมต้องการหา S curve ใหม่ผมทำซอฟต์แวร์ Compitak ทำ ARAK ทำ Useelive และ Trusty sign มีหลายตัวที่เป็นงานเฉพาะ มีหลายตัวไปต่อไม่ได้ เช่น Useelive จะให้ไปถึง Zoom คงเป็นไปไม่ได้แล้ว มันใช้งบสูงมาก และมีหลายตัวที่ยกเลิกไม่ทำต่อ
ยกเว้น SRAN เจ้าแมวตัวนี้ทำให้ผมมีวันนี้ กว่า 19 ปี ในวงการ SRAN มีหลายรุ่น หลายประเภทการใช้งาน เช่น Security Center, SRAN Light Netapprove (NIDS), Netshield เป็นต้น มีผมและทีมร่่วมกันให้เกิดขึ้นจับต้องได้
สิ่งที่เรา Focus เรื่องที่เรารู้และเข้าใจที่สุดคือ Log files ที่ต้องสู้กับข้อมูลขนาดใหญ่ตั้งแต่คำว่า Big data ยังไม่เป็นที่นิยม ข้อมูลที่เราสู้กับเป็น Log ข้อมูลจาก Network ข้อมูลจากอุปกรณ์ ข้อมูลจาก Application ข้อมูลการโจมตีทางไซเบอร์ ล้วนแต่ตาคนมองไม่เห็น เป็นสิ่งที่เราต้องรับและเก็บ เปิดดูย้อนหลังได้ ส่งต่อและคัดกรองได้
ก็ถือว่าเป็น 10 ปีที่รอคอย ก็ว่าได้เพราะเราไม่เคยสามารถสู้กับข้อมูลขนาดใหญ่ได้ในเครื่องเดียวได้เลย เกิน 10,000 eps ก็ต้องออกแบบการรับข้อมูล ทำงานถึงรับได้ ไม่ loss ทำงานเก็บได้ไม่หาย ทำงานเปิดอ่านได้ในระดับไฟล์ใหญ่ๆ
แต่มาวันนี้ เราสามารถรับได้ 80,000 eps บน spec เครื่องต่ำ บนเครื่องทดสอบ CPU 2 core RAM 4G รับข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างต่อเนื่อง เก็บบันทึก อ่าน และค้นหาได้ในตัวเดียว ระดับ High Performance ด้วยเทคนิคใหม่ๆที่เรานำเข้ามาใช้กับตัวนี้ทั้งหมด
เราเลยตั้งชื่อว่า SRAN METALog เป็น Log Module ที่พร้อมช่วยผู้ประกอบให้ลดค่าใช้จ่าย ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะผู้ประกอบ MSSP หรือบริษัท SI ที่ต้องใช้การรับข้อมูลขนาดใหญ่อย่างต่อเนื่อง เพื่อนำมาวิเคราะห์เข้าระบบ SIEM หรือทำ AI ต่อไป
ทุกครั้งที่ผมคิดสูตร Product ด้าน Cybersecurity มันคือความสุข และเป็นตัวตนผมทุกงานที่ถ่ายทอดมา ถ้าเป็นงานศิลปะ งานนี้ก็อาจเป็นอีก 1 อัลบัม จะขายได้ไม่ได้ ตอนนี้ไม่อยู่ในหัวเลย ขอให้ทำให้ดีที่สุดไว้ก่อน
หากมันจะใช่ของจริง สุดท้ายคนฟัง คนเสพ หรือผู้บริโภคงานศิลปะนี้จะเป็นคนบอกเอง
ไว้ตอนหน้าผมเล่าให้ฟังว่า MetaLog ที่ภูมิใจนำเสนอคืออะไร มันรับข้อมูลขนาดใหญ่ โดยใช้ทรัพยากรน้อยได้อย่างไร ทั้งหมดนี้ฝีมือคนไทยล้วนๆ ครับ
https://metalog.sran.net

งานเข็มทิศการศึกษา พัฒนาประเทศไทย

02/03/65 ได้รับเกียรติขึ้นเสวนา ในงานเข็มทิศการศึกษา พัฒนาประเทศไทย ณ พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ วังพญาไท กรุงเทพมหานคร โดยท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และท่านเลขาธิการสภาการศึกษา รวมทั้งคณะสภาการศึกษา ร่วมงานในครั้งนี้ สถานที่บรรยายในงานสวยงาม ประทับใจวันที่ขึ้นเวทีนี้ มาในนามนายกสมาคมส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยีไซเบอร์ (CIPAT) และที่ปรึกษาหลักสูตร Cybersecurity มาตรฐานสากล ICDL ประเทศไทย ขอบคุณครับ

CIPAT ได้ร่วมลงนามความร่วมมือทางวิชาการ กับ บริษัท บูโร เวอริทัส (ประเทศไทย) จำกัด

วันที่ 1 มีนาคม 2565 ทางสมาคม CIPAT ได้ร่วมลงนามความร่วมมือทางวิชาการ กับ บริษัท บูโร เวอริทัส (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นผู้นำระดับโลกที่มีชื่อเสียงในด้านการตรวจสอบ วิเคราะห์ และการรับรองผลิตภัณฑ์

เชิญบรรยาย Cybersecurity และการทำ Pen-test

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) เชิญ คุณนนทวัตต์ สาระมาน จัดโครงการอบรมหลักสูตรบรรยายการประเมินความเสี่ยงเพื่อหาช่องโหว่ขององค์กร โดยการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ สถาบันครับรองคุณภาพสถานพยาบาล ในวันที่ 20 มกราคม 2565 เวลา 08:30-16:30 น. ห้องประชุมชั้น 4 อาคารสุขภาพแห่งชาติ ภายในกระทรวงสาธารณสุข

สังคมการเรียนรู้อีกครั้ง กับ TEPCoT 14

เมื่อสถานการณ์คลี่คลาย เราก็กลับมาสู่สังคมการเรียนรู้อีกครั้ง กับ TEPCoT 14 ขอบพระคุณท่านประธานหอการค้า แห่งประเทศไทย และอาจารย์แม่ UTCC

แนวความคิด “Zero Ransomware” ในหัวข้อ HA IT Cybersecurity challenges during COVIDเป็นการประชุมระดับชาติด้านเวชสารสนเทศ

25/11/64 ได้มีโอกาสเสนอแนวความคิด “Zero Ransomware” ในหัวข้อ HA IT Cybersecurity challenges during COVIDเป็นการประชุมระดับชาติด้านเวชสารสนเทศ ครั้งที่ 10 พ.ศ. 2564 จัดโดยสมาคมเวชสารสนเทศไทย

Zero Ransomware ไม่ใช่แค่การลดการติดเชื้อ เป็น 0 แต่เป็นการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีโดยใช้งบประมาณที่ประหยัดและคุ้มค่า สำหรับโรงพยาบาลขนาดกลางและเล็ก

ส่วนหนึ่งการบรรยาย ได้มีการอธิบายวิธีการจับการเคลื่อนไหว เพื่อทำการสำรองข้อมูล และการกู้คืนข้อมูลรวดเร็ว ในลักษณะ Object Data ลดการปนเปื้อนเชื้อไวรัส Ransomware กู้คืนข้อมูลให้รวดเร็วขึ้น ลดความเสียหายที่เกิดขึ้นและใช้งบประมาณที่ประหยัดลดค่าใช้จ่ายที่เกินความจำเป็น

ขอขอบพระคุณ ท่าน ดร. ธนา สุขวารี และ ผศ.ดร.สุรศักดิ์ มังสิงห์

ความร่วมมือ CIPAT กับ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564  ที่ผ่านมา

จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ผนึกกำลังร่วมมือกัน 3 องค์กร ระหว่าง คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ร่วมกับ บริษัท โค้ดดิ้ง ฮับ จํากัด และ สมาคมส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยีไซเบอร์ (CIPAT) ในรูปแบบออนไลน์ ผ่านโปรแกรม ZOOM โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิรัช เลิศไพฑูรย์พันธ์ รองอธิการบดี พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนา สุขวารี คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ MOU ร่วมกับ นายจีรวุฒิ วงศ์พิมลพร CEO, Founder บริษัท โค้ดดิ้ง ฮับ จำกัด และ นายนนทวัตต์ สาระมาน นายกสมาคมส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยีไซเบอร์ CIPAT

โดยทาง CIPAT ร่วมมือด้านวิชาการ Cybersecurity for Business ที่ได้จัดทำร่วมกับมหาวิทยาลัยศรีปทุมอย่างต่อเนื่อง ในหลักสูตรบัณฑิตพันธุ์ใหม่ เป็นเวลา 3 รุ่น โดยได้รับเสียงตอบรับได้ดีมาโดยตลอด  ในความร่วมมือกันนี้จะเป็นการสร้างสรรค์หลักสูตร Cybersecurity และโครงการที่เกิดขึ้นให้เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต

กิจกรรม “Through Ideas Into Practice” ที่ SPU

เกือบโค้งสุดท้ายล่ะในกิจกรรม “Through Ideas Into Practice” วันที่ 9 ตุลาคม 2564 จัดโดยมหาวิทยาลัยศรีปทุม ตลอดระยะเวลา 4 เดือนเต็มกับการเป็นผู้จัดและดูแลหลักสูตรบัณฑิตพันธุ์ใหม่ Cybersecurity for Business รุ่นที่ 3 online ตลอดทั้งหลักสูตรเป็นครั้งแรกที่ทีมเราใส่แนวคิดการสร้างธุรกิจ Cybersecurity ที่คำนึงถึง สิ่งแวดล้อม, สังคม, และ การมีธรรมาภิบาล มากกว่าการสร้างรายได้ และแสวงหาผลกำไร โดยนำเอา “Digital Empathy”ใส่เข้าไปในหลักสูตรครั้งนี้ด้วยโดยวันนี้มีแข่งขัน 10 กลุ่ม จากสาขา Digital Transformation, Big data และ Cybersecurity นำเสนอโครงงาน Cybersecurity ได้รางวัลมา 2 กลุ่ม คือได้โหวตชนะ ที่ 1 และ 3 (ตบมือ)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจเเละสังคมเยี่ยมศูนย์ไซเบอร์กองทัพอากาศ

คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจเเละสังคม (นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์) มาเยี่ยมชมศูนย์ไซเบอร์ กองทัพอากาศ ที่ทันสมัยของประเทศ เพื่อรับฟังการบรรยายสรุป บทบาท หน้าที่ เเละ ภารกิจ ในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ รวมทั้งความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีกิจการอวกาศ โดยเฉพาะ ดาวเทียม นภา 1 เเละ นภา 2 โดยมี พล.อ.ต.สมพร ร่มพยอม ผอ.ศูนย์ไซเบอร์ กองทัพอากาศ เเละ คณะ มาให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น เเละร่วมประชุมหารือถึงความร่วมมือระหว่างกระทรวง
ดีอีเอสเเละกองทัพอากาศ ในโอกาส ต่อไป

CIPAT + ISEM อบรมและบริการตรวจรับรอง ISO

วันที่ 14 กันยายน 2564  ทางสมาคมส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยีไซเบอร์ CIPAT ได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ โครงการฝึกอบรมและบริการตรวจรับรอง ISO/IEC29110 และ ISO/IEC9001

๑. เพื่อจัดอบรมบุคลากรให้มีความรู้ระดับพื้นฐานและขั้นสูงด้านมาตรฐาน ISO/IEC29110 และ
ISO/IEC9001 ให้กับบริษัทในเครือข่ายของ CIPAT และผู้สนใจทั่วไป (Introduction to ISO/IEC29110,
Advanced ISO/IEC29110, Introduction to ISO/IEC9001 , Advanced ISO/IEC9001)

๒ เพื่อจัดอบรมบุคลากรให้มีความรู้ในการเป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านการปฏิบัติงานบนมาตรฐาน
ISO/IEC29110 และ ISO/IEC9001 (Certified Practitioner: CPN)
๓ เพื่อจัดอบรมบุคลากรให้มีความรู้ในการเป็นผู้ตรวจประเมินมาตรฐาน ISO/IEC29110 และ
ISO/IEC9001 (Certified Lead auditor: CLA)
๔ เพื่อจัดอบรมบุคลากรให้มีความรู้ในการเป็นวิทยากรด้านการมาตรฐาน ISO/IEC29110 และ
ISO/IEC9001 (Certified Trainer: CTN)

๕ เพื่อให้บริการวิชาการด้านการตรวจประเมินมาตรฐานการพัฒนาซอฟต์แวร์ISO/IEC29110 และ
ISO/IEC9001 และมาตรฐานการให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นๆ เช่น CMMI, ITIL (ISO/IEC20000),
COBIT, PDPA เป็นต้น

บรรยายพิเศษ Digital Transformation สมาคมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

 นายนนทวัตต์ สาระมาน นายกสมาคมส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยี CIPAT ได้ร่วมสัมมนาออนไลน์  Digital Transformation ก้าวสู่มหาวิทยาลัยยุคดิจิทัล วันที่ 10 กันยายน 2564 เวลา 9:00

โดยได้รับโอกาสให้บรรยายเรื่องกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล PDPA สำหรับมหาวิทยาลัย

เยี่ยมศูนย์ไซเบอร์กองทัพบก

คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจเเละสังคม มาเยี่ยมชม เพื่อรับฟัง บทบาท หน้าที่ เเละภารกิจในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านไซเบอร์ ของศูนย์ไซเบอร์กองทัพบก ณ กองบัญชาการกองทัพบก

บรรยายกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สถาบันพระบรมราชชนก

 ในวันที่ 6 กันยายน 2564 ได้รับเชิญบรรยายเรื่องพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล PDPA